ต้มยำปลาทู อาหารไทย กับข้าวจากปลาทู วิธีทำต้มยำปลาทูทำอย่างไรใส่อะไรบ้าง อาหารง่ายๆทำกินเองที่บ้านได้ ต้มยำใส่ปลาทู เคล็ดลับการทำต้มยำให้อร่อยมีอะไรบ้าง
สูตรอาหารยอดนิยม เมนูอาหารอร่อยๆ อาหารแนะนำสำหรับวันนี้ ขอนำเสนอ อาหารง่ายๆ เมนูต้มยำใส่ปลาทู คือ ต้มยำปลาทู ภาษาอังกฤษ เรียก Mackerel with Spicy Soup เคล็ดลับความร่อยของต้มยำปลาทูอาหารเมนูนี้ คือ วัตถุดิบคุณภาพ เทคนิคการเตรียมอาหาร และ การปรุงรสชาติ น้ำต้มยำต้องเข้มค้น ไม่เค็มปลาทู เนื้อปลาสุกพอดีไม่เละ
ต้มยำปลาทู ต้มยำอร่อยๆกับปลาทู ส่วนผสมและขั้นตอนการทำอาหารเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับคนรักการทำอาหาร เมนูต้มยำ
ส่วนผสมสำหรับทำต้มยำปลาทู
- ปลาทู 2 ตัว
- พริกสด บด 1 ชอนโต้ะ
- น้ำมะขามเปียก 1 ช้อนโต้ะ
- น้ำมะนาว 2 ช้อนโต้ะ
- มะเขือเทศ หั่นครึ่ง 3 ผล
- หอมแดง หั่น 4 ซีก 3 หัว
- ตะไคร้ ซอย 1 ต้น
- เห็ดฟาง หั่น 1 ถ้วย
- ข่า ซอย 1 หัว
- ใบมะกรูด 4 – 5 ใบ
- ผักชีฝรั่ง ซอยหยาบๆ 2 ช้อนโต้ะ
- น้ำซุปกระดุกหมู 1 หม้อ
วิธีทำต้มยำปลาทู
- นำปลาทูไปต้มให้สุกอีกครั้ง เพื่อให้เนื้อปลาสุก และ ให้ความเค็มของปลาทูลดลงด้วย จากนั้นนำปลาทูออกมาพักไว้ก่อน และ น้ำต้มปลาทูให้ทิ้งไปเลย
- การต้มน้ำซุปกระดูก ต้องได้น้ำซุปที่หวานกลมกล่อม เริ่มจากการใส่ สมุนไพร ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ลงไปต้มก่อน เคล็ดลับอยู่ตรงนี้ คือ ให้ต้มด้วยไฟอ่อนๆ ให้ความหอม และ น้ำมันหอมระเหยของสมุนไพร ออกมาอย่างเต็มที่ หลายคนต้องการให้เสร็จเร็ว ก็นำไปต้มในน้ำเดือดเลย แบบนี้ น้ำต้มยำขะไม่หอม ข่า ตะไคร้ และ ใบมะกรูด
- เมื่อความหอมได้ที่ ให้ใส่ เห็ดฟาง มะเขือเทศ และ หอมแดง พร้อมกับใส่เนื้อปลาทูลงไปต้มในหม้อต้ม
- ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำมะขามเปียก และ พริกสด ขั้นตอนนี้สำคัญ เนื่องจากปลาทูจะมีรสชาติทำให้ต้มยามีรสชาติเปลี่ยน ให้ใส่ น้ำมะขามเปียก และ พริกสดลงไปก่อน จากนั้นชิมรสของแกง ว่าความเค็มพอดีหรือไม่ จากนั้นค่อยเติมน้ำปลาลงไป ให้ได้รสชาติ
- ปิดไฟลง จากนั้น ปรุงรสเปรี้ยวด้วย น้ำมะนาว และ ใบผักชีฝรั่งให้มีกลิ่นหอม เสริฟใส่ชามพ้รอมสำหรับรับประทาน กับข้าวสวย กับข้าวไทย เมนูง่ายๆ ตามร้านอาหารไทย
เคล็ดลับการทำต้มยำปลาทู
- เนื้อปลาทู ให้เลือกปลาทูตัวใหญ่ ปลาทูที่สดๆ ต้องปลาทูแม่กลอง หน้างง คอหัก ตัวใหญ่ๆ ให้นำปลาทูไปต้มให้สุกอีกครั้งหนึ่ง ให้เนื้อปลาคล้ายความเค็ม
- การใช้ไฟสำหรับการต้ม เป็นเคล็ดลับความอร่อยของต้มยำ ช่วงแรงให้ต้ม ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ด้วยไฟอ่อนๆ ให้ความหอมของสมุนไพรเต็มที่ จากนั้นจึงค่อยเพิ่มไฟให้แรงขึ้น
- ใบมะกรูด นั้น ส่วนแกงกลางใบ จะทำให้รสขม ให้เอาแกนกลางใบออก จะได้ความหอมที่ไม่มีรสขม
- น้ำมะนาว ให้ปรุงรสขั้นตอนสุดท้าย ตอนปิดไฟแล้ว เนื่องจากหากปรุงตอนน้ำเดือดจะทำให้น้ำแกงขม
- เม็ดมะนาว อย่าให้ลงไปในน้ำต้มยำ เพราะ เม็มมะนาวจะให้รสขม และขมมากๆ
- หอมแดง ให้หันหนาๆ เนื่องจาก หากหั่นบางๆ เนื้อหอมแดงจะยุ่ย ไม่เป็นเนื้อหอมแดง ไม่น่ารับประทาน
- เคล็ดลับความอร่อยของต้มยำ อยู่ที่ การต้มเครื่องสมุนไพร ให้ความร้อนค่อยๆทำให้น้ำมันหอมระเหยคงอยู่
- เนื่องจากเนื้อปลาทูจะเค็ม การปรุงรสจะแตกต่างจากเมนูต้มยำทั่วไป ให้ชิมก่อนปรุง หรือ ทำให้เนื้อปลาทูไม่มีรสเค็มก่อน ต้องระวังไม่ให้เค็มเกินไป
nlovecooking.com รวบรวมสูตรอาหารต่างๆ เมนูอาหารที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆสำหรับคยต้องการทำอาหาร ซึ่งเน้นรายละเอียด ส่วนผสม วิธีทำ และ เคล็ดลับในการทำอาหารต่างๆ ซึ่งมีสูตรอาหารต่างๆ เช่น อาหารไทย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น และ อาหารเวียดนาม โดยการแยกสูตรอาหารต่างๆตามเทคนิคการทำอาหาร และ วััตถุดิบในการทำอาหาร เช่น เมนูผัด เมนูแกง เมนูทอด เมนูปิ้งย่าง เมนูนึ่ง เมนูตุ๋น เมนูยำ เมนูหมู เมนูไก่ เมนูปลา เมนูกุ้ง เมนูปลาหมึก เมนูไข่ รวมถึง น้ำจิ้ม น้ำพริก ขนมไทย อาหารเจ และ เครื่องดื่ม สำหรับสูตรอาหารที่เรานำเสนอ เราได้ทดสอบ ลองชิมรสชาติว่าอร่อยแล้ว แต่ความอร่อยของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ท่านจำเป็นต้องนำเอาไปปรับปรุงรสชาติให้ได้รสชาติที่ถูกใจท่านเอง สำหรับความอร่อยของอาหารแต่ละประเภทมีหลักการอยู่ง่ายๆ คือ หนึ่งวัตุถุดิบต้องมีคุณภาพ ความสด ความใหม่ของวัตถุดิบต่างๆมีความสำคัญ สองเทคนิคการเตรียมอาหาร ความเข้าใจในธรรมชาติของวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร อะไรสุกง่าย อะไรสุกยาก รสชาติพื้นฐานของวัตถุดิบนั้นๆ และ สามการปรุงรสชาติ ซึ่งการปรุงรสชาติสำคัญที่สุด รสชาติของอาหารที่จะอร่อยหรือไม่อยูู่ที่การปรุงรสให้ถูกปาก เราหวังว่าท่านจะประทับใจในสูตรอาหารต่างๆที่เรานำเสนอนี้
ต้มยำ เป็นแกงไทยที่มีรสเปรี้ยวเผ็ด ต้มยำเป็นอาหารที่รู้จัก และมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คำว่า “ต้มยำ” มาจากคำภาษาไทย 2 คำ คือ “ต้ม” และ “ยำ” คำว่า “ต้ม” หมายถึง กิริยาเอาของเหลวใส่ภาชนะแล้วทำให้ร้อนให้เดือดหรือสุก ขณะที่ “ยำ” หมายถึงอาหารไทยประเภทที่มีรสเปรี้ยวเผ็ด ดังนั้น “ต้มยำ” คือแกงไทยที่มีความเผ็ดร้อนและเปรี้ยว อันที่จริงคุณลักษณะของต้มยำมาจากความแตกต่างระหว่างความเผ็ดร้อนและความเปรี้ยวและกลิ่นหอมของสมุนไพรในน้ำแกง ที่สำคัญน้ำแกงนั้นประกอบด้วย น้ำต้มกระดูกและเครื่องปรุงส่วนผสมสดได้แก่ ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า น้ำมะนาว น้ำปลา และพริก ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ชื่อต้มยำ ถูกใช้เรียกน้ำแกงประเภทต่าง ๆ ที่เผ็ดร้อน ซึ่งแตกต่างจากน้ำแกงต้มยำของไทยดั้งเดิม ทำให้ผู้คนสับสนจากความแตกต่างนี้ ปลาทู ภาษาอังกฤษ เรียกว่า mackerel ประโยชน์จากปลาทู ปลาทูเป็นแหล่งของสารอาหารประเภทโปรตีนอย่างดี ปลาทูมีลำตัวแป้นยาวเพรียว ตาโต ปากกว้าง จะงอยปากจะแหลม เกล็ดเล็กละเอียด มีม่านตาเป็นเยื่อไขมัน บนขากรรไกรมีฟันซี่เล็ก ๆ ปลาทูนับเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง ปลาทู จัดเป็น อาหารยอดนิยม ของคนไทยมาช้านาน เนื่องจากเป็น ปลาทะเล ที่สามารถจับได้มากในประเทศไทย มีราคาถูก คนทั่วไปสามารถหาซื้อรับประทานได้ง่าย ต้มยำปลาทูจึงเป็นเมนูต้มยำแบบง่ายๆในอาหารไทยอีกหนึ่งเมนูอาหาร
ต้มยำปลาทู เป็นอีกหนึ่งเมนูต้มยำ แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่า ต้มยำกุ้ง ต้มยำไก่ เพราะ เนื้อปลาทูมีรสเฉพาะตัวการปรุงรสต้มยำค่อนข้างยาก ต้องค่อยๆปรุง
แหล่งอ้างอิง
- “Overview of Tom Yum soup from late 19th-century Siam to present day Thailand”. Thaifoodmaster (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 25 January 2017.
- “Ancient Siamese Recipe for Tom Yum Soup with Snakehead Fish, Roasted Chili Jam and Green Mango (First Published in 1890) (Dtohm Yam Bplaa Chaawn, ต้มยำปลาช่อนแบบโบราณ อย่าง
- หม่อมซ่มจีน ราชานุประพันธุ์ ร.ศ.๑๐๙)”. Thaifoodmaster (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 25 January 2017. สืบค้นเมื่อ 25 January 2017.
- “Tom Yam Kung”. thaiwaysmagazine.com. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
- “Tom Yam Kung Recipe, Hot and Sour Soup with Shrimp”. thaifoodmaster.com. สืบค้นเมื่อ 4 March 2010.
- “Spicecuisine.com”. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
- “Merry’s Kitchen – Sour and Spicy Chicken Soup (Tom Yam Kai)”. melroseflowers.com. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
- “Spicecuisine.com”. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
- “ต้มยำขาหมู”. YouTube. 10 March 2011. สืบค้นเมื่อ 27 February 2015.
- https://th.wikipedia.org/wiki/ต้มยำ สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2567
- https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาทู สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2567