X

หลนเต้าเจี้ยว อาหารไทยแบบง่ายๆ พร้อม 6 เคล็ดลับความอร่อย

หลนเต้าเจี้ยว หรือ เต้าเจี้ยวหลน วิธีทำหลนเต้าเจี้ยวทำอย่างไร อาหารง่ายๆทำกินเองได้ น้ำพริกสูตรโบราณ การเลือกวัตถุดิบคุณภาพ เทคนิคการปรุงรสที่อร่อยเป็นสิ่งสำคัญ

อาหารไทย ยอดนิยมสำหรับวันนี้ เรานำเสนอ น้ำพริก คือ หลนเต้าเจี้ยว อาหารไทยโบราณ ที่มีส่วนผสมของ เต้าเจี้ยว (ถั่วเหลืองหมัก) กะทิ เนื้อกุ้งบด เอกลักษณ์ของหลนเต้าเจี้ยว คือ มีส่วนประกอบของกะทิ ปรุงรสให้มีรส เค็ม หวาน มัน และ เปรี้ยว ให้รสชาติกลมกล่ม กินคู่กับผักสด เช่น มะเขือ แตงกวา เป็นต้น เคล็ดลับความอร่อยของอาหารเมนูนี้อยู่ที่วัตถุดิบคุณภาพ เทคนิคการเตรียมอาหาร และ การปรุงรสชาติ

หลนเต้าเจี้ยว แสนง่ายดาย ส่วนผสมและขั้นตอนการทำอาหารเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับคนรักการทำอาหาร

ส่วนผสมสำหรับทำหลนเต้าเจี้ยว

  • เต้าเจี้ยวอย่างดี 3 ช้อนโต้ะ
  • หัวกะทิ 6 ช้อนโต้ะ
  • ซอสถั่วเหลือง 3 ช้อนโต้ะ
  • น้ำมะขามเปียก 2 ช้อนโต้ะ
  • น้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนโต้ะ
  • เนื้อหมูสับ 5 ช้อนโต้ะ
  • เนื้อกุ้งสับ 5 ช้อนโต้ะ
  • หอมแดงซอย 1 ช้อนโต้ะ
  • พริกขี้หนูสวนซอย 1 ช้อนโต้ะ
  • ผักชีซอย 1 ช้อนชา

วิธีทำหลนเต้าเจี้ยว

  1. เริ่มจาก การโขรกเต้าเจี้ยวก่อน นำเต้าเจี้ยวไปบดให้ละเอียด จากนั้นนำมาพักไว้ก่อนเพื่อเตรียมทำอาหาร
  2. ตั้งกระทะสำหรับผัด ใส่หัวกะทิลงไปใช้ไฟอ่อนๆ ใส่เนื้อกุ้งสับและเนื้อหมูสับลงๆผัดให้สุก ระวังอย่าให้กะทิแตกมัน
  3. จากนั้นปรุงรสด้วย ซอสถั่วเหลือง น้ำตาลปี๊บ น้ำมะขามเปียก ชิมให้ได้รสชาติที่พอใจก่อน
  4. จึงใส่หอมแดง และ พริกขี้หนูสวนลงไป ผัดให้หอมแดงและพริกเริ่มนุ่มหมดกลิ่นเหม็นเขียว จากนั้นปิดไฟ พักให้เย็นก่อน
  5. เสริฟใส่ถ้วย พร้อมด้วยผักสดๆ เช่น แตงกวา มะเขือ หรือผักอื่นๆที่ต้องการตามใจชอบ

เคล็ดลับการทำหลนเต้าเจี้ยว

  1. การเลือกให้เต้าเจี้ยว ให้เลือหใช้เต้าเจี้ยวอย่างดี รสชาติจำไม่เค็มเกินไป สามารถหาซื้อได้ที่ตลาดเก่าเยาวราช
  2. เนื่องจากเต้าเจี้ยวมีรสเค็มอยู่แล้ว เมนูนี้การปรุงรสชาติเค็มให้ค่อยๆใส่ เนื่องจากรสเค็มนั้นหากเค็มแล้วแก้ไขยาก แนะนำให้ใส่ น้ำตาล น้ำมะขามเปียกลงไปก่อน และชิมหากขาดเค็ม ค่อยเติมซอสถั่วเหลืองตาม
  3. การปรุงรสเปรี้ยวสำหรับเมนูนี้ เลือกใช้ความเปรี้ยวจากน้ำมะขามเปียก เนื่องจากมะขามเปียก จะมีรสเปรี้ยวอมหวาน เวลานำมาทำอาหารให้รสชาติที่กลมกล่อม
  4. เนื้อหมูสับ เลือกส่วนที่มีมันผสมจะให้สัมผัสของเนื้อหมูที่นุ่ม โดยแนะนำให้ใช้ส่วนสันคอหมู เป็นส่วนที่มีหมูติดมัน เวลานำมาทำหลน เนื้อหมูติดมันจะให้รสชาติที่น่ากินกว่าหมูอย่างเดียว
  5. การเลือกกุ้ง ให้เลือกใช้กุ้งที่สดๆใหม่ โดยเมื่อได้กุ้งมาแล้วให้ล้างให้สะอาด แกะเปลือก ผ่าหลัง ล้างให้หมดเมือก จะทำให้กุ้งไม่มีกลิ่นคาว
  6. การปรุงอาหารประเภทเนื้อกุ้ง เนื่องจากเนื้อกุ้งสุกเร็ว หากผัดจนเนื้อกุ้งสุกเกินไปจะทำให้เนื้อกุ้งแข็งเกินไปและไม่น่ารับประทาน

nlovecooking.com รวบรวมสูตรอาหารต่างๆ เมนูอาหารที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆสำหรับคยต้องการทำอาหาร ซึ่งเน้นรายละเอียด ส่วนผสม วิธีทำ และ เคล็ดลับในการทำอาหารต่างๆ ซึ่งมีสูตรอาหารต่างๆ เช่น อาหารไทย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น และ อาหารเวียดนาม โดยการแยกสูตรอาหารต่างๆตามเทคนิคการทำอาหาร และ วััตถุดิบในการทำอาหาร เช่น เมนูผัด เมนูแกง เมนูทอด เมนูปิ้งย่าง เมนูนึ่ง เมนูตุ๋น เมนูยำ เมนูหมู เมนูไก่ เมนูปลา เมนูกุ้ง เมนูปลาหมึก เมนูไข่ รวมถึง น้ำจิ้ม น้ำพริก ขนมไทย อาหารเจ และ เครื่องดื่ม สำหรับสูตรอาหารที่เรานำเสนอ เราได้ทดสอบ ลองชิมรสชาติว่าอร่อยแล้ว แต่ความอร่อยของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ท่านจำเป็นต้องนำเอาไปปรับปรุงรสชาติให้ได้รสชาติที่ถูกใจท่านเอง สำหรับความอร่อยของอาหารแต่ละประเภทมีหลักการอยู่ง่ายๆ คือ หนึ่งวัตุถุดิบต้องมีคุณภาพ ความสด ความใหม่ของวัตถุดิบต่างๆมีความสำคัญ สองเทคนิคการเตรียมอาหาร ความเข้าใจในธรรมชาติของวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร อะไรสุกง่าย อะไรสุกยาก รสชาติพื้นฐานของวัตถุดิบนั้นๆ และ สามการปรุงรสชาติ ซึ่งการปรุงรสชาติสำคัญที่สุด รสชาติของอาหารที่จะอร่อยหรือไม่อยูู่ที่การปรุงรสให้ถูกปาก เราหวังว่าท่านจะประทับใจในสูตรอาหารต่างๆที่เรานำเสนอนี้

น้ำพริก อาหารไทยประเภทเครื่องจิ้มนิยมรับประทานคู่กับผักสดๆ ซึ่งน้ำพริกมีส่วนประกอบสำคัญ คือ พริก โขรกให้แหลก น้ำพริกยังเป็นหนึ่งในอาหารไทยที่นิยมผลิดเพื่อส่งขายต่างประเทศ ความหลากหลายของน้ำพริกภาคกลาง มักปรุงให้มีรสชาติกลมกล่อม ไม่โดดรสใดรสหนึ่ง เปรี้ยว เผ็ด เค็ม หวาน มีวัตถุดิบและวิธีในการปรุงน้ำพริกที่หลากหลาย เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม มะดัน มีการนำตำรับแบบชาววังมาเป็นต้นแบบด้วย เช่น น้ำพริกลงเรือ ส่วนน้ำพริกทั่วไปที่รู้จักแพร่หลาย เช่น น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาทู น้ำพริกไข่เค็ม น้ำพริกตาแดงและน้ำพริกแมงดา เป็นต้น

หลนเต้าเจี้ยว อาหารไทยโบราณ ที่มีส่วนผสมของ เต้าเจี้ยว (ถั่วเหลืองหมัก) กะทิ เนื้อกุ้งบด เอกลักษณ์ของหลนเต้าเจี้ยว คือ มีส่วนประกอบของกะทิ ปรุงรสให้มีรส เค็ม หวาน มัน และ เปรี้ยว ให้รสชาติกลมกล่ม กินคู่กับผักสด

แหล่งอ้างอิง

  • อาหารการกินแห่งลุ่มทะเลสาบ. สงขลา: เครือข่ายสตรีรอบทะเลสาบสงขลา. 2551. หน้า 104-105
  • “ครัวคุณต๋อย”. ช่อง 3. 19 December 2014. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
  • รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 3247; ศรีวรรณ จำรัส, สัมภาษณ์, 14 มิถุนายน 2550, ศิริพร โปร่งคำ, สัมภาษณ์, 21 มิถุนายน 2550
  • นงเยาว์ วิริยะ, สัมภาษณ์, 2 กรกฎาคม 2550 http://lannainfo.library.cmu.ac.th/lannafood/detail_lannafood.php?id_food=80
  • จริยา เดชกุญชร. อาหารไทยภาคอีสาน. กทม. เพชรในเรือน. 2552
  • “น้ำพริกเผา ความอร่อยในตำนาน”. เทคโนโลยีชาวบ้าน.
  • “เทียบสูตร “น้ำพริกเผา” ในวังกับแบบขวดขายทั่วไปซึ่งในวังไม่เรียก “น้ำพริกเผา””. ศิลปวัฒนธรรม.
  • https://th.wikipedia.org/wiki/น้ำพริก สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2567.
Mr.Cooking: ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร จากประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ผ่านเว็บไซต์อาหารที่ดีที่สุดในโลก อย่าง nlovecooking.com