แกงฮังเล อาหารเหนือ เมนูขาหมู วิธีทำแกงฮังเลทำอย่างไร อาหารง่ายๆทำกินเองได้ อาหารได้รับอิทธิพลจากพม่า น้ำขลุกขลิก ขิง น้ำมะขามเปียก กระเทียมดอง ถั่วลิสง น้ำตาล
สูตรอาหารยอดนิยม เมนูแนะนำสำหรับวันนี้ ขอนำเสนอ อาหารเหนือ เมนูหมู คือ แกงฮังเล เคล็ดลับการทำหลายอย่างตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ การเตรียมอาหาร และ การปรุงอาหาร แกงฮังเลมี 2 ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า
แกงฮังเล อาหารชื่อดัง ส่วนผสมและขั้นตอนการทำอาหารเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับคนรักการทำอาหาร
ส่วนผสมสำหรับทำแกงฮังเล
- เนื้อขาหมู 1 กิโลกรัม
- น้ำพริกแกงเผ็ด 3 ช้อนโต้ะ
- ผงฮังเล 1 ช้อนชา
- เกลือ 1 ช้อนชา
- ซีอิ๊วดำ 1 ช้อนชา
- ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
- ขิงซอย 3 ช้อนโต้ะ
- หัวหอมซอย 3 ช้อนโต้ะ
- กระเทียมบด 2 ช้อน
- น้ำตาลปี๊บ 3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมะขามเปียก 1 ถ้วย
- น้ำซุป 4 ถ้วย
- กระท้อนเปรี้ยวสับ 1 ถ้วย
วิธีทำแกงฮังเล
- หมักขาหมูด้วย พริกแกงเผ็ด ผงฮังเล ซีอิ้วดำ ซีอิ้วขาว น้ำปลา และ เกลือ หมักสัก 1 ชั่วโมง
- ตั้งหม้อนำน้ำซุปลงไปต้ม ใส่กะท้อนสับลงไป ตามด้วย น้ำตาล หัวหอม ขิง และ กระเทียม จากนั้นนำขาหมูลงไปต้ม
- เคี่ยวจนเนื้อนิ่มเปื่อย เสริฟใส่ชาม กับข้าวง่ายๆ เมนูเหนือ อาหารไทย ง่ายๆ
เคล็ดลับการทำแกงฮังเล
- ขาหมู ให้เลือกใช้ ขาหมูที่สดๆ การสังเกตุขาหมูที่สด นั้น ให้เลือกจาก ลักษณะของขาหมูที่สมบูรณ์ เนื้อแน่น ไม่ม่กลิ่นเหม็นเน่า
- การเตรียมขาหมู นั้น ขาหมูจะมีขนมาก เคล็ดลับการเตรียมอาหาร ให้ นำไปเผาให้ขนออกหมด จากนั้น ใช้มีกโกนขูดหนังหมู ให้เรียบ ไม่มีขนหมู ขนหมูแข็ง เวลากิน จะไม่อร่อย เสียอรรถรส สำหรับเมนูขาหมู
- การหมักขาหมู เป็น ส่วนสำคัญของเมนูแกงฮังเล ผงฮังเล นำมาหมัก กับ น้ำปลา เกลือ ซีอิ้วขาว และ ซิอิ้วดำ นวดให้ส่วนผสมเข้าเนื้อ หมักไว้ 1 ชั่วโมง ให้ส่วนผสมเข้าเนื้อ
- เมนูนี้ ต้องเคี้ยวจะหมูนุ่ม หนังนุ่ม น้ำตุ๋นจะเข้มข้น อร่อยมาก
nlovecooking.com รวบรวมสูตรอาหารต่างๆ เมนูอาหารที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆสำหรับคยต้องการทำอาหาร ซึ่งเน้นรายละเอียด ส่วนผสม วิธีทำ และ เคล็ดลับในการทำอาหารต่างๆ ซึ่งมีสูตรอาหารต่างๆ เช่น อาหารไทย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น และ อาหารเวียดนาม โดยการแยกสูตรอาหารต่างๆตามเทคนิคการทำอาหาร และ วััตถุดิบในการทำอาหาร เช่น เมนูผัด เมนูแกง เมนูทอด เมนูปิ้งย่าง เมนูนึ่ง เมนูตุ๋น เมนูยำ เมนูหมู เมนูไก่ เมนูปลา เมนูกุ้ง เมนูปลาหมึก เมนูไข่ รวมถึง น้ำจิ้ม น้ำพริก ขนมไทย อาหารเจ และ เครื่องดื่ม สำหรับสูตรอาหารที่เรานำเสนอ เราได้ทดสอบ ลองชิมรสชาติว่าอร่อยแล้ว แต่ความอร่อยของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ท่านจำเป็นต้องนำเอาไปปรับปรุงรสชาติให้ได้รสชาติที่ถูกใจท่านเอง สำหรับความอร่อยของอาหารแต่ละประเภทมีหลักการอยู่ง่ายๆ คือ หนึ่งวัตุถุดิบต้องมีคุณภาพ ความสด ความใหม่ของวัตถุดิบต่างๆมีความสำคัญ สองเทคนิคการเตรียมอาหาร ความเข้าใจในธรรมชาติของวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร อะไรสุกง่าย อะไรสุกยาก รสชาติพื้นฐานของวัตถุดิบนั้นๆ และ สามการปรุงรสชาติ ซึ่งการปรุงรสชาติสำคัญที่สุด รสชาติของอาหารที่จะอร่อยหรือไม่อยูู่ที่การปรุงรสให้ถูกปาก เราหวังว่าท่านจะประทับใจในสูตรอาหารต่างๆที่เรานำเสนอนี้
แกงฮังเล หรือ แกงฮินเล อาหารไทยภาคเหนือ ประเภทแกงรสชาติเค็มเปรี้ยว แกงฮังเลมีต้นกำเนิดจากประเทศพม่า โดยคำว่า ฮี่น (ဟင်း) ในภาษาพม่าแปลว่า แกง และ เล่ (လေး) ในภาษาพม่าแปลว่า เนื้อสัตว์ แกงฮังเลได้รับความนิยมจากชาวไทยภาคเหนือ วิธีปรุงแกงฮังเลมีสองแบบ คือ แบบพม่าและแบบเชียงแสน โดยแบบพม่าได้รับความนิยมมากกว่า แกงฮังเลพม่ารสชาติออกเปรี้ยวเค็ม น้ำขลุกขลิก ใส่ขิง น้ำมะขามเปียก กระเทียมดอง ถั่วลิสง น้ำตาลอ้อย ส่วนแกงฮังเลเชียงแสนเพิ่มถั่วฝักยาว พริก หน่อไม้ดอง งาคั่ว ส่วนประกอบสำคัญจะต้องมีผงแกงฮังเลหรือผงมัสล่าซึ่งเป็นผงเครื่องเทศแบบผสมแบบเดียวกับการัม มาซาลาของอินเดีย น้ำพริกแกงประกอบด้วยพริกแห้ง เกลือ ข่าแก่ ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง แกงฮังเลแบบไทใหญ่ น้ำขลุกขลิกและกินกับมะม่วงสะนาบซึ่งเป็นมะม่วงสับ ยำกับกะปิคั่ว กุ้งแห้งป่น และกระเทียมเจียว อาหารเหนือ เมนูหมู สูตรอาหารเหนือ สูตรอาหาร การทำอาหาร หมูทำอะไรกินได้บ้าง อาหารเหนือมีอะไรบ้าง พูดถึงเมนูหมู คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ” หมู ” เป็นพื้นฐานของ อาหารจานหลัก ที่ใครหลายๆคน ชอบ บางที่ ขาหมูนุ่ม มากแต่ก็หวานมาก เค็มมาก บางที่ ขาหมูรสอร่อย แต่เนื้อหมูกระด้างมาก
แกงฮังเล หรือ แกงฮินเล อาหารไทย ประเภทแกงรสชาติเค็ม เปรี้ยว ส่วนผสมและขั้นตอนการทำอาหารเข้าใจง่ายเหมาะสำหรับคนรักการทำอาหาร
แหล่งอ้างอิง
- ญดา ศรีเงินยวงและชนิรัตน์ สำเร็จ. แกงไทย. กทม. แสงแดด. 2556 หน้า 56
- สิริรักษ์ บางสุด และ พลวัฒน์ อารมณ์. โอชะล้านนา. กรุงเทพฯ: แสงแดด. 2558 หน้า 187 และ 192
- “”แกงฮังเล” วัฒนธรรมและความเชื่อ”. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์).