น้ำมะม่วง วิธีทำน้ำมะม่วง ง่ายๆสามารถทำกินเองได้ เครื่องดื่มจากมะม่วง นำเนื้อมะม่วงสุกมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำเชื่อม น้ำเปล่าและเกลือ มะม่วงทำอะไรกินได้บ้าง
เครื่องดื่มยอดนิยม สำหรับวันนี้ ขอนำเสนอ เครื่องดื่มจากผไม้ น้ำผลไม้ในฤดูร้อนทำจากมะม่วงสุกหวานๆ คือ น้ำมะม่วง เคล็ดลับความอร่อยของน้ำมะม่วงอยู่ที่ การเลือกวัตถุดิบที่ดี การเตรียมอาหาร และ ขั้นตอนการปรุงรสชาติ เมนูนี้ จะนำ เนื้อมะม่วงสุก มาปั่นและคั้นเอาน้ำสีเหลืองๆ หวานๆ มาปรุงรสกับน้ำเชื่อม
น้ำมะม่วง เครื่องดื่ม เมนูคลายร้อน ส่วนผสมและขั้นตอนการทำเครื่องดื่มเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับคนรักการทำน้ำดื่ม เมนูสุขภาพ
ส่วนผสมสำหรับทำน้ำมะม่วง
- เนื้อมะม่วงสุก 3 ผล
- น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง
- น้ำเชื่อม 1 ถ้วยตวง
- เกลือ 1 ช้อนชา
วิธีทำน้ำมะม่วง
- ขั้นตอนแรกให้เลือกมะม่วงสุก นำมาล้างให้สะอาด ปอกเปลือก ฝานเอาเฉพาะเนื้อมะม่วง จากนั้นจะนำเอาไปปั่น
- เตรียมน้ำเชื่อม โดยใช้น้ำสะอาด มาต้มให้เดือด และ ใส่น้ำตาลและเกลือลงไป เคี้ยวให้เหนียว จากนั้นพักให้เย็นก่อน
- การปั่นน้ำมะม่วง ให้ใส่เนื้อมะม่วงสุก และ น้ำเปล่า ปริมาณท่วมเนื้อมะม่วง ปั่นให้ละเอียด จากนั้นนำไปกรองเอาเฉพาะ น้ำของเนื้อมะม่วง
- นำน้ำมะม่วงมาปรุงรสกับน้ำเชื่อมจามใจชอบ จากานั้นนำไปแช่เย็น ให้เย็นฉ่ำ ก็สามารถนำมาดื่มให้ความสดชื่นได้
nlovecooking.com รวบรวมสูตรอาหารต่างๆ เมนูอาหารที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆสำหรับคยต้องการทำอาหาร ซึ่งเน้นรายละเอียด ส่วนผสม วิธีทำ และ เคล็ดลับในการทำอาหารต่างๆ ซึ่งมีสูตรอาหารต่างๆ เช่น อาหารไทย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น และ อาหารเวียดนาม โดยการแยกสูตรอาหารต่างๆตามเทคนิคการทำอาหาร และ วััตถุดิบในการทำอาหาร เช่น เมนูผัด เมนูแกง เมนูทอด เมนูปิ้งย่าง เมนูนึ่ง เมนูตุ๋น เมนูยำ เมนูหมู เมนูไก่ เมนูปลา เมนูกุ้ง เมนูปลาหมึก เมนูไข่ รวมถึง น้ำจิ้ม น้ำพริก ขนมไทย อาหารเจ และ เครื่องดื่ม สำหรับสูตรอาหารที่เรานำเสนอ เราได้ทดสอบ ลองชิมรสชาติว่าอร่อยแล้ว แต่ความอร่อยของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ท่านจำเป็นต้องนำเอาไปปรับปรุงรสชาติให้ได้รสชาติที่ถูกใจท่านเอง สำหรับความอร่อยของอาหารแต่ละประเภทมีหลักการอยู่ง่ายๆ คือ หนึ่งวัตุถุดิบต้องมีคุณภาพ ความสด ความใหม่ของวัตถุดิบต่างๆมีความสำคัญ สองเทคนิคการเตรียมอาหาร ความเข้าใจในธรรมชาติของวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร อะไรสุกง่าย อะไรสุกยาก รสชาติพื้นฐานของวัตถุดิบนั้นๆ และ สามการปรุงรสชาติ ซึ่งการปรุงรสชาติสำคัญที่สุด รสชาติของอาหารที่จะอร่อยหรือไม่อยูู่ที่การปรุงรสให้ถูกปาก เราหวังว่าท่านจะประทับใจในสูตรอาหารต่างๆที่เรานำเสนอนี้
เครื่องดื่ม มักจะเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดเตรียมสำหรับดื่ม มีสถานะเป็นของเหลว และมักจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก เครื่องดื่มอาจเป็นปัจจัยในการดำรงชีพ เช่น น้ำ หรือใช้ในด้านอื่น เช่น เหล้าและไวน์ใช้เป็นส่วนประกอบของพิธีกรรม รายชื่อเครื่องดื่มต่างๆ มะม่วง จะมีสารอาหารที่มีประโยชน์หลายชนิด ประกอบด้วย ฟอสฟอรัส วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 และ แคลเซียม สารอาหารเหล่านี้มีประโยชน์ ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค รักษาโรคหวัด ป้องกันโรคเหน็บชา และ ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด มะม่วงเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน แก้คลื้นไส้ และใช้เป็นยาบำรุงกระเพราะอาหาร คุณประโยชน์ของน้ำมะม่วง การดื่มน้ำมะม่วง ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และเป็นยาระบายอ่อน ๆ เนื่องจากมะม่วงมีรสหวาน ไม่แนะนำให้ดื่มน้ำมะม่วงทุกวันและจำนวนมากๆ การที่เราดื่มเครื่องดื่มรสหวานมากเกินไป ทำให้เกิดน้ำตาลสะสมในเส้นเลือด อาจทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ทำความรู้จักกับมะม่วงกันอีกครั้ง มะม่วง เป็นพืชยืนต้น สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน มะม่วงมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Mangifera indica หากจะหาแหล่งกำเนิดของมะม่วง อยู่ที่ อินเดีย มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นซากฟอสซิล ที่มีพบมะม่วงอยู่ในนั้น ต่อมามะม่วงได้แพร่กระจายไปในประเทศแถบร้อนต่างๆ ประเทศที่มีการปลูกมะม่วงจำนวนมาก และมีการส่งออกไปขายทั่วโลก คือ เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ และไทย
น้ำมะม่วง เครื่องดื่มแสนอร่อย ส่วนผสมและขั้นตอนการทำเครื่องดื่มเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับคนรักการทำอาหาร
แหล่งที่มา
- https://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องดื่ม สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2567
- https://th.wikipedia.org/wiki/มะม่วง สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2567
- “ซีพี สำเร็จผลิตมะม่วงนอกฤดู ตั้งเป้าขยายตลาดส่งออกทั้งปี”. คมชัดลึกออนไลน์. 2009-11-26.
- “National Fruit”. Know India. Government of India. สืบค้นเมื่อ 2010-08-17.
- “Mango tree, national tree”. BDnews24.com. สืบค้นเมื่อ 2010-11-16.
- “เฟอร์นิเจอร์ไม้มะม่วง…ของดี ‘คลอง 30′”. คมชัดลึกออนไลน์. 2016-04-03.
- ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ (2551). พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 271 หน้า ดูฉบับเต็ม ที่ เวย์แบ็กแมชชีน