แกงหน่อไม้ใบย่างนาง แกงเปอะ เมนูแกงแบบอีสานแสนอร่อย อาหารพื้นบ้าน วิธีทำแกงหน่อไม้ใบย่านาง ไม่ยากใครๆก็สามารถทำกินเองได้ สูตรอาหารอร่อยๆ เมนูหน่อไม้ แกงปลาร้า
สูตรอาหารยอดนิยม เมนูอาหารแสนอร่อย สำหรับวันนี้ ขอนำเสนอ อาหารไทย อาหารอีสาน คือ แกงหน่อไม้ใบย่านาง หรือ แกงเปอะ ซึ่งเคล็ดลับความอร่อยของแกงหน่อไม้ใบย่านาง คือ วัตถุดิบคุณภาพ เทคนิคการเตรียมอาหาร และ การปรุงรสชาติ รสชาติของแกงที่กลมกล่อม หน่อไม้ที่ไม่เหนียวหรือแข็งเกินไป หอมผักต่างๆและใบย่างนาง
แกงหน่อไม้ใบย่านาง แกงอีสานยอดนิยม ส่วนผสมและขั้นตอนการทำอาหารเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับคนรักการทำอาหาร เมนูแกง
ส่วนผสมสำหรับทำแกงหน่อไม้ใบย่านาง
- หน่อไม้อ่อน 2-3 หน่อ
- ปลาดุก 1 ตัว
- ยอดชะอม 2-3 ยอด
- ใบแมงลัก 1 กำมือ
- ใบย่านาง 1 กำมือ
- ปลาร้า 4 ช้อนโต้ะ
- น้ำปลา 2 ช้อนโต้ะ
- ฟักทองหั่นเป็นชิ้นพอคำ 4-5 ชื้น
- เห็ดฟาง 5 ดอก นำมาหั่นซีก
- บวบ 5-6 ชิ้น นำมาหั่นเป็นชิ้นพอคำ
- พริกขี้หนูสวน 4-5 เม็ด บุบให้พอแตก
- หอมหัวแดง 3 หัว
- ตะไคร้ 1 ต้น นำมาหั่นเป็นท่อน
- ข้าวเหนียว 1 ช้อนโต้ะแช่น้ำ 1 คืน
- กะปิ 1 ช้อนโต้ะ
- เกลือ 1 ช้อนชา
วิธีทำแกงหน่อไม้ใบย่านาง
- เริ่มจากการล้างปลาดุกให้สะอาด เอาเครื่องในปลาออก โรยเกลือให้ทั่วตัวปลา และ นำไปย่างให้สุก จากนั้นแกะเอาเฉพาะเนื้อปลาดุก นำมาพักไว้ก่อน
- นำหน่อไม้สด ให้เลือกส่วนหน่อไม้อ่อน และ นำมาฝานเป็นแผ่นๆไม่หนาและไม่บางเกินไป จากนั้นนำไปต้มให้หน่อไม้สุกก่อน และ นำมาพักไว้ก่อน
- เตรียมเครื่องแกง โดยโขรก เนื้อปลาดุกย่าง พริกขี้หนูสวน หอมหัวแดง ตะไคร้ ข้าวเหนียว กะปิ และ เกลือ ให้ส่วนผสมละเอียดเข้ากัน
- เริ่มต้มแกง โดยต้มน้ำให้เดือดจากนั้นใส่เครื่องแกงที่เตรียมไว้ลงไปต้ม ใส่ เห็ดฟาง ฟักทอง และ บวบลงไปต้ม ต้มให้สุกก่อน
- ปรุงรสด้วย ปลาร้า และ น้ำปลา ซึ่งปรุงรสตามใจชอบ รสของแกงหน่อไม้จะออกเค็ม
- ขั้นตอนสุดท้ายใส่หน่อไม้ ยอดชะอม ใบแมงลัก และ ใบย่านางลงไป ต้มอีกสักครู่ก็ปิดไฟ
- เสริฟใส่ชามพร้อมรับประทานได้
เคล็ดลับการทำแกงหน่อไม้ใบย่านาง
- การเลือกหน่อไม้ให้เลือกหน่อไม้อ่อน เนื่องจากหน่อไม้อ่อน เนื้อจะนุ่ม ไม่เหนียว ให้รสชาติอร่อย เหมาะสำหรับนำมาทำอาหารรับประทาน
- การเตรียมหน่อไม้ให้ล้างให้สะอาด นำมาหั่นให้พอดีรับประทานและนำไปต้มก่อน
- การเลือกซื้ิอปลาดุกให้เลือกปลาดุกตัวใหญ่ จะได้เนื้อปลามากๆหน่อย ซึ่งเทคนิคการเลือกซื้อปลาดุกให้เลือกซื้อปลาดุกที่ลักษณะตัวสมบูรณ์ ไม่มีแผล เนื้อผิวปลาแน่น เด้ง ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า
- การล้างปลาดุก ให้ใช้เกลือและแป้งมันถูกปลาให้เมือกออกให้หมด และ ล้างให้สะอาด จะได้ปลาที่ไม่คาว
- เนื้อปลาดุก ให้นำไปย่างก่อน การย่างปลาดุก เพื่อเทคนิคการทำอาหารอย่างหนึ่ง เนื่องจากปลาดุก มีก้างเยอะ การนำไปย่างก่อน เพื่อที่จะทำให้ เนื้อปลาเวลาสุกไม่เละ และ การแกะเนื้อง่าย เอาก้างออกง่าย
- บวบ เป็นวัตถุดิบที่สุกยาก ดังนั้น การแกงหน่อไม้ ให้ใส่บวบในขั้นตอนแรก เวลาสุก จุได้บวบที่สุกพอดี บวบจะไม่เละ
- ฟักทอง เป็นวัตถุดิบที่สุกยาก ให้ใส่ฟักทองไปต้มในน้ำแกง พร้อมกับบวบ จะไดสุกพอดี
- ยอดชะอม และ ใบแมงลัก สุกง่าย ให้ ใส่ขั้นตอนสุดท้าย จะได้ ผักที่ยังหอมอยู่
- สำหรับคนที่ไม่ชอบเนื้อปลาดุก สามารถใช้เนื้ออื่นแทนได้ เช่น ไก่ หมูสามชั้น ตีนไก่ เป็นต้น
nlovecooking.com รวบรวมสูตรอาหารต่างๆ เมนูอาหารที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆสำหรับคยต้องการทำอาหาร ซึ่งเน้นรายละเอียด ส่วนผสม วิธีทำ และ เคล็ดลับในการทำอาหารต่างๆ ซึ่งมีสูตรอาหารต่างๆ เช่น อาหารไทย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น และ อาหารเวียดนาม โดยการแยกสูตรอาหารต่างๆตามเทคนิคการทำอาหาร และ วััตถุดิบในการทำอาหาร เช่น เมนูผัด เมนูแกง เมนูทอด เมนูปิ้งย่าง เมนูนึ่ง เมนูตุ๋น เมนูยำ เมนูหมู เมนูไก่ เมนูปลา เมนูกุ้ง เมนูปลาหมึก เมนูไข่ รวมถึง น้ำจิ้ม น้ำพริก ขนมไทย อาหารเจ และ เครื่องดื่ม สำหรับสูตรอาหารที่เรานำเสนอ เราได้ทดสอบ ลองชิมรสชาติว่าอร่อยแล้ว แต่ความอร่อยของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ท่านจำเป็นต้องนำเอาไปปรับปรุงรสชาติให้ได้รสชาติที่ถูกใจท่านเอง สำหรับความอร่อยของอาหารแต่ละประเภทมีหลักการอยู่ง่ายๆ คือ หนึ่งวัตุถุดิบต้องมีคุณภาพ ความสด ความใหม่ของวัตถุดิบต่างๆมีความสำคัญ สองเทคนิคการเตรียมอาหาร ความเข้าใจในธรรมชาติของวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร อะไรสุกง่าย อะไรสุกยาก รสชาติพื้นฐานของวัตถุดิบนั้นๆ และ สามการปรุงรสชาติ ซึ่งการปรุงรสชาติสำคัญที่สุด รสชาติของอาหารที่จะอร่อยหรือไม่อยูู่ที่การปรุงรสให้ถูกปาก เราหวังว่าท่านจะประทับใจในสูตรอาหารต่างๆที่เรานำเสนอนี้
แกงหน่อไม้ใบย่างนาง หรือ แกงเปอะ เป็นอาหารอีสาน แกงที่น้ำแกงสีหม่นคล้ำ เพราะ ผสมน้ำใบย่านางลงในแกงใส่ผักหลายชนิด ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ชาวอีสานเรียกแกงชนิดนี้ว่า แกงหน่อไม้ น้ำพริกแกงประกอบด้วยพริกขี้หนูแห้ง ตะไคร้ กระชาย หอมแดง ใส่ข้าวเบือเพื่อช่วยให้น้ำแกงข้น ผักที่นิยมใส่นอกจากหน่อไม้ได้แก่ ฟักทอง ผักแขยง ชะอม ผสมน้ำปลาร้า ทำให้อาหารชนิดนี้ถูกปากคนทั้งประเทศ แบบไม่ต้องสงสัย
แหล่งอ้างอิง
- ญดา ศรีเงินยวง และชนิรัตน์ สำเร็จ. แกงไทย. กรุงเทพฯ : แสงแดด, 2556, หน้า 42–43.