แกงกระด้าง หมูหนาว อาหารเหนือ วิธีทำแกงกระด้างทำอย่างไร อาหารง่ายๆทำกินเองได้ หมูทำอะไรกินได้บ้าง หมูทำอะไรกินดี นิยมใช้ขาหมูทำ เคล็ดลับความอร่อยเป็นอย่างไร
สูตรอาหารยอดนิยม เมนูอาหารแนะนำสำหรับวันนี้ ขอนำเสนอ อาหารพื้นบ้าน คือ แกงกระด้าง หรือ หมูหนาว เคล็ดลับความอร่อยของอาหารเมนูนี้ อยู่ที่ วัตถุดิบคุณภาพ เทคนิคการเตรียมอาหาร และ การปรุงรสชาติ อาหารพื้นบ้านชาวล้านนา นิยมใช้ ขาหมู เป็นส่วนประกอบสำคัญ เพราะมีเอ็นอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก แต่ในปัจจุบัน สามารถน้ำไปเข้าตู้เย็น คำว่า กระด้าง ภาษาเหนือ แปลว่า เกาะตัว คือ แกงที่เกาะตัว ความเย็นเมื่อโดนน้ำแกง จะกลายเป็นวุ้น
แกงกระด้าง หมูหนาว อาหารอร่อย ส่วนผสมและขั้นตอนการทำอาหารเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับคนรักการทำอาหาร
ส่วนผสมสำหรับทำแกงกระด้าง
- เนื้อหมู หั่นเป็นชิ้นพอคำ 1 ถ้วย
- หอมแดง 4 หัว
- กระเทียม 3 หัว
- พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
- รากผักชี 2 ต้น
- เกลือ 1 ช้อนชา
- น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
- ผักชี หั่นเป็นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำแกงกระด้าง
- เตรียมครก โขลก กระเทียม หอมแดง รากผักชี เกลือ พริกไทย ให้ละเอียดเข้ากัน
- ต้มน้ำ ให้เดือด จากนั้นใส่เครื่องที่โขลกลงไปต้ม พร้อมกับ เนื้อหมู เติม น้ำปลา ลงไป เคี่ยวให้ เนื้อหมูเปื่อย
- เสริฟใส่ชามทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นนำไป แช่เย็น ใน ตู้เย็น ให้ น้ำซุป จับตัวเป็น วุ้น
- โรยหน้าด้วย ผักชี พร้อมรับประทาน
เคล็ดลับการทำแกงกระด้าง
- เนื้อหมู ให้เลือกใช้ เนื้อหมู ที่สดๆ โดย การเลือกซื้อหมู นั้น ให้ดูจาก ลักษณะของเนื้อหมู สีออกชมพู ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีสีคล้ำ และ เนื้อแน่น เด้ง
- ก่อนนำไปแช่เย็น นั้น ให้ทำการกรอง น้ำซุปก่อน เอาเศษ ต่างๆออก และ ไม่ให้มีตะกอน ให้เสียรสชาติ และ เลือกเอา เฉพาะ เนื้อหมูใส่ลงไป และนำไปแช่เย็น จะได้ หมูหนาว หรือ แกงกระด้าง ที่อร่อย ไม่มีเศษ ของอะไรมากวนใจ
nlovecooking.com รวบรวมสูตรอาหารต่างๆ เมนูอาหารที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆสำหรับคยต้องการทำอาหาร ซึ่งเน้นรายละเอียด ส่วนผสม วิธีทำ และ เคล็ดลับในการทำอาหารต่างๆ ซึ่งมีสูตรอาหารต่างๆ เช่น อาหารไทย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น และ อาหารเวียดนาม โดยการแยกสูตรอาหารต่างๆตามเทคนิคการทำอาหาร และ วััตถุดิบในการทำอาหาร เช่น เมนูผัด เมนูแกง เมนูทอด เมนูปิ้งย่าง เมนูนึ่ง เมนูตุ๋น เมนูยำ เมนูหมู เมนูไก่ เมนูปลา เมนูกุ้ง เมนูปลาหมึก เมนูไข่ รวมถึง น้ำจิ้ม น้ำพริก ขนมไทย อาหารเจ และ เครื่องดื่ม สำหรับสูตรอาหารที่เรานำเสนอ เราได้ทดสอบ ลองชิมรสชาติว่าอร่อยแล้ว แต่ความอร่อยของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ท่านจำเป็นต้องนำเอาไปปรับปรุงรสชาติให้ได้รสชาติที่ถูกใจท่านเอง สำหรับความอร่อยของอาหารแต่ละประเภทมีหลักการอยู่ง่ายๆ คือ หนึ่งวัตุถุดิบต้องมีคุณภาพ ความสด ความใหม่ของวัตถุดิบต่างๆมีความสำคัญ สองเทคนิคการเตรียมอาหาร ความเข้าใจในธรรมชาติของวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร อะไรสุกง่าย อะไรสุกยาก รสชาติพื้นฐานของวัตถุดิบนั้นๆ และ สามการปรุงรสชาติ ซึ่งการปรุงรสชาติสำคัญที่สุด รสชาติของอาหารที่จะอร่อยหรือไม่อยูู่ที่การปรุงรสให้ถูกปาก เราหวังว่าท่านจะประทับใจในสูตรอาหารต่างๆที่เรานำเสนอนี้
แกงกระด้าง หรือ แกงหมูด้าง หรือ แกงหมูหนาว เป็นอาหารพื้นบ้านชาวล้านนา นิยมใช้ขาหมูเป็นส่วนประกอบสำคัญ เพราะมีเอ็นอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อนำมาเป็นส่วนประกอบหลักในการแกงจะทำให้แกงข้น หรือกระด้างได้ง่าย ในปัจจุบันมักเติมผงวุ้นลงไปด้วยเพราะผงวุ้นทำให้แกงกระด้างได้ดีและเร็วขึ้น แกงกระด้างมี 2 สูตร คือ สูตรเชียงใหม่และสูตรล้านนา ในสูตรล้านนาขณะต้มขาหมูจะมีการเติมเครื่องแกงและเติมพริกแห้งลงไปด้วยเพื่อเพิ่มสีส้มในอาหารให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น ในสมัยก่อนแกงกระด้างจะมีให้รับประทานในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น แต่ ณ ปัจจุบันเทคโนโลยีทางอาหารดีขึ้นมาก ผู้ที่ทำแกงกระด้างจะใช้ผงวุ้นเย็นเป็นตัวเร่งประสิทธิภาพในการจับตัว และเกาะตัวของแกงให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น ณ ปัจจุบันแกงกระด้างสามารถหารับประทานได้ทุกฤดูกาล อาหารเหนือ สูตรอาหารไทย 4 ภาค วิธีทำอาหาร อาหารเหนือมีอะไรบ้าง หมูทำอะไรกินได้บ้าง หมูทำอะไรกินดี แกงกระด้าง หมูหนาว อาหารพื้นเมืองเหนือ แกงหมูกระด้าง แกงหมูหนาว
แกงกระด้าง อาหารภาคเหนือ สูตรอาหารพื้นบ้าน เนื่องจาก ทางภาคเหนือ มีอากาศหนาว นิยมต้มน้ำแกง ซด บรรเทาอากาศหนาว เมื่อกินไม่หมด ก็เก็บเอาไว้กินต่อ พรุ่งนี้ แต่เมื่อน้ำแกง โดน อากาศเย็น ก็เกิดเป็น วุ้นขึ้น มา ที่สำคัญ อร่อย จึงทำให้เกิด เมนูหมูหนาว ที่คนภาคเหนือ นิยมรับประทาน แกงกระด้าง หรือ หมูหนาว อาหารเหนือ วิธีทำแกงกระด้าง ง่ายๆทำกินเองได้ หมูทำอะไรกินได้บ้าง หมูทำอะไรกินดี สูตรหมูหนาว นิยมใช้ขาหมูทำ เคล็ดลับความอร่อย เมนูหมู
แหล่งอ้างอิง
- รัตนา พรหมพิชัย. (2542). แกงกระด้าง. สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 1, หน้า 475). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
- ข้อมูลแกงกระด้างจากเว็บไซต์กองบิน 41 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557