ฟักทองสังขยา ขนมไทย ฟักทองนึ่งกับสังขยา วิธีทำฟักทองสังขยาทำอย่างไร ขนมง่ายๆทำกินเองได้ เคล็ดลับการทำฟักทองสังขยามีอะไรบ้าง ฟักทองทำอะไรกินดี ขนมหวานจากฟักทอง
สูตรขนมแสนอร่อย เมนูอาหารแนะนำสำหรับวันนี้ ขอนำเสนอ อาหารหวาน เมนูนึ่ง เรียกว่า ฟักทองสังขยา เคล็ดลับความอร่อยของสังขยาฟักทอง คือ วัตถุดิบคุณภาพ เทคนิคการเตรียมอาหาร และ การปรุงรสชาติ
ฟักทองสังขยา ขนมหวานไทย อร่อยยอดนิยม ส่วนผสมและขั้นตอนการทำขนมเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับคนรักการทำอาหาร เมนูฟักทอง
ส่วนผสมสำหรับทำฟักทองสังขยา
- ฟักทอง 1 ลูก
- ไข่ไก่ 3 ฟอง
- น้ำตาลปีบ 3 ช้อนโต้ะ
- แป้งข้าวจ้าว 1 ช้อนโต้ะ
- กะทิ 500 มิลลิลิตร
- เกลือ 1 ช้อนชา
- น้ำใบเตย 2 ช้อนโต้ะ
วิธีทำฟักทองสังขยา
- เริ่มจากการเตรียมฟักทองก่อน โดยให้คว้านเม็ดฟักทองออก ให้เหลือเฉพาะเปลือกกับเนื้อฟักทอง จากนั้นพักไว้ก่อน
- เนื่องจากฟักทองสุกยากแต่สังขยาสุกง่าย ให้นำฟักทองไปนึ่งก่อนประมาณ 5 นาที ให้ฟักทองร้อนและสุกประมาณครึ่งหนึ่ง
- ระหว่างที่นึ่งฟักทอง ให้เตรียมสังขยา โดย ผสมไขไก่ แป้งข้าวจ้าว เกลือ กะทิ น้ำใบเตย และ น้ำตาลปี๊บ นวดผสมให้ส่วนผสมเข้ากัน กรองให้เนื้อสังขยาละเเอียด และ เนื้นเนียน
- เปิดหม้อนึ่ง เทสังขยาลงไปนึ่งในฟักทอง โดยเทลงไปประมาณ 3 ส่วน 4 ของฟักทอง เพราะ สังขยาจะขยายตัวอีก นำด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 15 นาที
- พอสังขยาเซ็ตตัวให้นำฟักทองสังขยาออกมาพักให้เย็น เพียงเท่านี้ก็สามารถนำมาผ่าเป็นซีก รับประทานได้
เคล็ดลับการทำขนมสังขยาฟักทอง
- การเลือกฟักทองต้องเลือกฟักทองที่สดใหม่ โดยสังเกตุจากผิวของฟักทองไม่หยักมากเกินไป และ คั่วของฟักทองยังสดไม่แห้ง
- ฟักทองสุขยาก แต่สังขยาสุกง่าย ดังนั้นการทำให้สังขยาฟักทองสุกทั้งฟักทองและสังขยา ให้นำฟักทองไปนึ่งให้สุกก่อน 50% และจึงค่อยนำสังขยาลงไปนึ่งในฟักทองต่อ เมื่อสังขยาสุกเนื้อฟักทองก็จะสุกพอดี
- เทคนิคการนึ่งให้เนื้อสังขยาเนียน ให้ใช้ไฟอ่อนๆแต่หม้อนึ่งร้อน
- การทำให้เนื้อฟักทองเนียน และ น้ำสังขยา เนียนส่วย ทำโดยต้องการคว้านเอาเส้นใยด้านในของ ลูกฟักทอง ออกให้หมด จากนั้นใช้ผ้าขาวบางกรอง น้ำสังขยา
- การที่จะได้ เนื้อสังขยา ที่เนียน คงตัว ให้ใช้แป้งข้าวเจ้าผสมด้วย
- การจะทำให้เนื้อ สังขยา ฟูขึ้นมาให้ไม่ล้นลูกฟักทอง สวยน่ารับประทาน ให้เทสังขยาลงไป 75 % พอ เมื่อนำไปนึ่งสังขยาจะพองตัวได้เนื้อสังขยาที่ไม่ล้นออกมามากเกินไปสวยงามน่ารับประทาน สังเกตุง่ายๆคือ เว้นไว้สัก 2 นิ้วจากขอบ ฟักทอง
- น้ำตาล สำหรับทำขนมหวาน ให้เลือกใช้ น้ำตาลปี๊บ ความหวานของน้ำตาลปี๊บ เหมาะสำหรับทำ ขนมหวาน
- ในการนึ่งต้อง ระวังฟักทองแตก วิธีการแก้ปัญหาฟักทองแตก สามารถทำได้โดยใช้ภาชนะรองลูกฟักทองไว้ เพื่อลดความร้อนที่ก้นของฟักทอง
- เพื่อให้เนื้อ สังขยาฟักทอง แน่น และเซ้ตตัว ให้นำ สังขยาฟักทอง ไปพักที่ตู้เย็นก่อนประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนนำไปรับประทาน
nlovecooking.com รวบรวมสูตรอาหารต่างๆ เมนูอาหารที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆสำหรับคยต้องการทำอาหาร ซึ่งเน้นรายละเอียด ส่วนผสม วิธีทำ และ เคล็ดลับในการทำอาหารต่างๆ ซึ่งมีสูตรอาหารต่างๆ เช่น อาหารไทย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น และ อาหารเวียดนาม โดยการแยกสูตรอาหารต่างๆตามเทคนิคการทำอาหาร และ วััตถุดิบในการทำอาหาร เช่น เมนูผัด เมนูแกง เมนูทอด เมนูปิ้งย่าง เมนูนึ่ง เมนูตุ๋น เมนูยำ เมนูหมู เมนูไก่ เมนูปลา เมนูกุ้ง เมนูปลาหมึก เมนูไข่ รวมถึง น้ำจิ้ม น้ำพริก ขนมไทย อาหารเจ และ เครื่องดื่ม สำหรับสูตรอาหารที่เรานำเสนอ เราได้ทดสอบ ลองชิมรสชาติว่าอร่อยแล้ว แต่ความอร่อยของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ท่านจำเป็นต้องนำเอาไปปรับปรุงรสชาติให้ได้รสชาติที่ถูกใจท่านเอง สำหรับความอร่อยของอาหารแต่ละประเภทมีหลักการอยู่ง่ายๆ คือ หนึ่งวัตุถุดิบต้องมีคุณภาพ ความสด ความใหม่ของวัตถุดิบต่างๆมีความสำคัญ สองเทคนิคการเตรียมอาหาร ความเข้าใจในธรรมชาติของวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร อะไรสุกง่าย อะไรสุกยาก รสชาติพื้นฐานของวัตถุดิบนั้นๆ และ สามการปรุงรสชาติ ซึ่งการปรุงรสชาติสำคัญที่สุด รสชาติของอาหารที่จะอร่อยหรือไม่อยูู่ที่การปรุงรสให้ถูกปาก เราหวังว่าท่านจะประทับใจในสูตรอาหารต่างๆที่เรานำเสนอนี้
ขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งความละเอียดอ่อนช้อยความประณีตตั้งแต่การเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ การปรุงรสชาติ สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ที่ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจงต่าๆ ขนมไทย ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวและใช้ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรรมชาติ ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งข้าวแบบเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้ง นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่นๆ เช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาล ขนมไทยมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตไทยในทุกเทศกาลและโอกาสต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ขนมที่ใช้ในงานเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆของไทยตลอดทั้งปี ขนมไทยยั้งได้รับอิทธิพลจากขนมของชาติอื่น มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและวัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคแบบไทย จนทำให้คนรุ่นหลัง แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่นเป้นอย่างไร เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น-โปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงสุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่ไข่มักเป็น ขนมจากต่างประเทศ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส ฟักทองสังขยาเป็นหนึ่งในขนมไทย ทีมีส่วนผสมของฟักทองนึ่งใส่สังขยา
ฟักทอง ที่มีขายอยู่ในประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิดคือ ฟักทองไทย ที่ ผิวจะขรุขระ และ ฟักทองต่างประเทศ ซึ่งผิวจะเรียบ แต่สำหรับ เมนูสังขยาฟักทอง หรือ เมนูฟักทองสังขยา เรานิยมนำ ฟักทอง ไทยมาใช้ ทำขนม แล้วเราจะเลือกอย่างไรจึงจะได้ ฟักทอง ที่เหมาะสำหรับทำ ขนมสังขยาฟักทอง เราควรเลือกฟักทอง ลูกขนาด 1 กิโลกรัม ให้เลือกฟักทองแก่ โดยสังเกตุโดย ให้ใช้เล้บจิกลงที่ผิวของ ฟักทอง ฟักทองแก่ ผิวจะแข็งจิกไม่เข้า เนื้อจะแน่น มีความมัน นำมา ทำขนมสังขยาฟักทอง อร่อย ประโยชน์ของฟักทอง ขนมไทย อย่างขนมฟักทองสังขยา เป็นอาหารเมนูประยุกต์ เอาผลไม้ มาตัดกับความหวานของไข่ไก่กับน้ำตาลหวานๆ นำมานึ่ง เป็น สูตรขนม แสนอร่อย
ฟักทองสังขยา ขนมไทยอร่อยๆเมนูนึ่ง ส่วนผสมและขั้นตอนการทำขนมเข้าใจง่ายเหมาะสำหรับคนรัการทำขนม
แหล่งอ้างอิง
- https://th.wikipedia.org/wiki/ขนมไทย สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2567
- ตำราขนมหวาน. กทม. แสงแดด. 2539
- ส. พลายน้อย. เกร็ดย่อยร้อยเรื่อง. กทม. ดอกหญ้า. 2537
- วรดุลย์ ตุลารักษ์. วัฒนธรรมอาหารการกิน:ขนมไข่เหี้ย. ครัว. 4 (37) :88 – 89 กรกฎาคม 2540
- อบเชย อิ่มสบาย, บก. ตำรับขนมไทย. กทม. แสงแดด. 2539
- ฆนนกาล มาตยศิริ. กล้วยในขนมไทย. วัฒนธรรมไทย. 36 (4) : 16 -17, มกราคม 2542
- เฟื่อฟ้า เปียจำปา. อาหารคนเมือง ใน เชียงใหม่ หน้า 236 – 237. สุดารา สุจฉายา , บก. กทม. สารคดี. 2540
- ปาริชาติ เรืองวิเศษ. บก., แม่ฮ่องสอน. กทม. สารคดีม. 2536
- ยูร กมลเสรีรัตน์. ขนมอีสานเมื่อวันวาร. วัฒนธรรมไทย. 36 (4) : 42 – 43 มกราคม 2542
- ปาริชาติ เรืองวิเศษ. อาหารพื้นเมืองเลย. ใน เลย หน้า 173. สุดารา สุจฉายาม บก. กทม. สารคดี. 2539
- สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้. กทม. สถาบันทักษิณคดีศึกษา. 2523
- วันดี ณ สงขลา. อาหารไทยในวรรณคดี เล่ม 2. กทม. ผลิตภัณฑ์การพิมพ์. 2527