ขนมไทย ขนมหวานโบราณแบบง่ายๆทำกินเองได้ สูตรขนมไทยต่างๆ ขนมกวน ขนมนึ่ง ขนมเชื่อม ขนมทอด ขนมอบ ขนมต้ม พร้อมเทคนิคการทำขนม เคล็ดลับความอร่อยของหวานสร้างอาชีพ
ขนมไทย คือ อาหารหวานของอาหารไทย ซึ่งลักษณะ ขนมไทย จะมีความหวานจากน้ำตาล ความมันจากกะทิ เป็นหลัก โดยมีส่วนผสมของวัตถุดิจากธรรมชาติ เช่น แป้ง ไข่ไก่ ไข่เป็ด เนื้อผลไม้ต่างๆ เช่น ลูกตาล ลูกชิด มะพร้าว กล้วย โดยเทคนิคการทำขนมไทย ส่วนมากจะเป็นการนึ่ง การต้ม เป็นหลัก
ประเภทของขนมไทย
ขนมหวานไทยสามารถแบ่งได้ 7 ประเภท ประกอบด้วย ขนมกวน ขนมนึ่ง ขนมเชื่อม ขนมทอด ขนมอบ และขนมต้ม ซึ่งรายละเอียดของขนมชนิดต่างๆ ดังนี้
ขนมไทยประเภทกวน ใช้กะทะกวนขนมจากน้ำเหลวๆจนงวด และใส่ลงพิมพ์ เช่น ตะโก้ ขนมลืมกลืน ขนมเปียกปูน ขนมศิลาอ่อน ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว และกะละแม เป็นต้น
ขนมไทยประเภทนึ่ง ใช้ความร้อนจากไอน้ำทำให้ขนมสุก เช่น ช่อม่วง ขนมชั้น ข้าวต้มผัด สาลี่อ่อน สังขยา ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมใส่ไส้ ขนมเทียน ขนมน้ำดอกไม้ เป็นต้น
ขนมไทยประเภทเชื่อม เป็นการนำวัตถุดิบมาต้มกับน้ำตาลให้ความหวาน เช่น ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุน กล้วยเชื่อม จาวตาลเชื่อม เป็นต้น
เผือกกวน |
|
วุ้นมะพร้าว | |
ขนมมันเชื่อม |
ขนมไทยประเภททอด นำวัตถุดิบลงกะทะน้ำมันทำให้สุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด เป็นต้น
กล้วยทอด |
|
ล่าเตียง |
|
กล้วยฉาบ |
|
ขนมไทยจากการอบ ใช้ความร้อนทำให้ขนมสุก ขนมจะมีลักษณะแห้งและกรอบ เช่น ขนมกลีบลำดวน ขนมทองม้วน สาลี่แข็ง ขนมครก ขนมเบื้อง เป็นต้น
ขนมกลีบลำดวล | |
ขนมไทยประเภทต้ม เป็นการนำวัตถุดิบมาต้มให้สุก เช่น ขนมถั่วแปบ ขนมต้ม ขนมเหนียว ขนมเรไร เป็นต้น
ขนมไทยประเภทน้ำ นิยมใช้น้ำตาลและน้ำกะทิ มาทำขนม เช่น กล้วยบวชชี มันแกงบวด สาคูเปียก ลอดช่อง ซ่าหริ่ม เป็นต้น
แกงบวดมันม่วง | แกงบวดฟักทอง |
ขนมหวานไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมการกินของชาวไทย อาหารประจำชาติไทย ขนมไทยจะมีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม เห็นได้ชัดจากร้านอาหารหรือร้านกาแฟทั้งหลาย ต่างพยายามบรรจุอาหารหวานเข้าไปอยู่ในเมนูด้วย ไม่ว่าจะเป็นแบบประยุกต์หรือดั้งเดิม อาหารว่าง หัตถกรรมความอร่อยที่แสดงออกถึงความอ่อนช้อยของความเป็นไทย ตั้งแต่ครั้งอดีตกาลที่ก่อกำเนิดภูมิปัญญาไทยหลากหลายอย่างให้สืบสานต่อทั้งวิถีชีวิตประเพณี วัฒนธรรม ขนมหวานไทย เรามีรสชาติกลอมกล่อม ไม่หวาน ละเมียดละไมชวนรับประทาน มีกลิ่นหอมธรรมชาติ
ประวัติความเป็นมาของขนมไทย
คำว่าขนม มาจากคำว่า ข้าวนม หรือ เข้าหนม หรือ ข้าวหนม นักคหกรรมศาสตร์สันนิษฐานว่ามาจากคำคำนี้ เนื่องจากขนมได้รับอิธิพลจากอินเดียที่ใช้ข้าวและนมนำมาทำขนม แต่เมื่อนำมาทำอาหารไทยจึงใช้กะทิและมะพร้าวเป็นวัตถุดิบแทนนม หรือ อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง คือ มาจากความว่า หนม ซึ่งมีความหมายว่า หวาน และ ในภาษาเขมร แปลว่า แป้ง ต่อมาการใช้ภาษามีการเพี้ยนไป เป็น ขนม
ขนมไทยในสมัยโบราณ นิยมทำขนมไทย เฉพาะวาระที่สำคัญเท่านั้น เช่นงานประเพณีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การทำบุญ งานแต่งงาน เทศกาลสำคัญ เนื่องจากขนมหวานไทยเป็นขนมที่ใช้เวลาทำนาน เนื่องจากต้องใช้ความพิถีพิถัน มาก ความสวยงามเป็นจุดเด่นของขนมหวานไทย
ขนมไทยแบบดั้งเดิม จะมีส่วนผสมของ แป้งจากข้าวจ้าว หรือ ข้าวเหนียว น้ำตาล กะทิ เท่านั้น ต่อมาการถ่ายทอดวัฒนธรรมด้านอาหารจากประเทศต่างๆเข้ามาในประเทศไทย ขนมก็มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน ก็เป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส ในสมัยรัชกาลที่ 1 พบหลักฐานว่ามีการทำตำราอาหาร และตำราขนมหวานไทยครั้งแรก ซึ่งตำราอาหารไทยเล่มแรกคือ แม่ครัวหัวป่าก์
วัตถุดิบในการทำขนมไทย
ขนมหวานไทย มีเอกลักษณ์เด่นที่ความหลากหลายของรสชาติ สีสัน และความหลากหลายของวัตถุดิบในการทำขนม ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สามารถหาได้จากธรรมชาติ และอยู่คู่กับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยรายละเอียด ดังนี้
- ข้าวและแป้ง ข้าวก็คือแป้งชนิดหนึ่ง ข้าวที่นำมาทำขนมจะเป็นข้าวใหม่ นำไปทำเป็นแป้ง สามารถใช้ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว นอกจากแป้งที่ได้จากข้าวเจ้าและเหนียว ยังมีแป้งจากมันสำปะหลัง และแป้งจากข้าวสาลี ซึ่งแป้งสาลีจะเป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ
- มะพร้าว มะพร้าวสามารถนำมาทำขนมได้ทั้ง เนื้อมะพร้าวและน้ำกะทิ ที่ได้จากการคั้นนำขากเนื้อมะพร้าว น้ำจากลูกมะพร้าวก็มีความหวาน นำมาทำขนมอร่อย เนื้อมะพร้าวอ่อน เอามาทำขนม เช่น เปียกสาคู วุ้นมะพร้าว สังขยามะพร้าวอ่อน เนื้อมะพร้าวทึนทึก ใช้ขูดเอาเนื้อมากิน ทำขนม ขนมเปียกปูน ขนมขี้หนู มะพร้าวแก่ จะนำเนื้อมะพร้าวมาคั้นเอากะทิ นำไปทำขนมได้หลากหลาย เช่น กล้วยบวชชี สาคูเปียก ซ่าหริ่ม บัวลอย เป็นต้น
- น้ำตาล เป็นสารให้ความหวาน ซึ่งน้ำตาลได้จากการสกัดจาก จาวมะพร้าว จาวตาล อ้อย เป็นต้น น้ำตาลเป็นส่วนประกอบของขนมหวานทุกชนิด
- ไข่ การนำไข่มาทำขนม เป็นการได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ นิยมนำไข่มาผสมกับแป้ง น้ำตาล ทำขนมด้หลากหลาย เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เป็นต้น
- ถั่วและงา ถั่วและงามีรสชาติอร่อย ให้ความหอมและเพิ่มความกรอบของเนื้อขนม ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม ถั่วดำต้มน้ำตาล ขนมถั่วดำ ต่างก็มีส่วนผสมของถั่ว
- กล้วย กล้วยเป็นผลไม้ที่อยู่คู่สังคมไทย รสหวาน ทานสดก็อร่อย การนำมาทำขนมจึงถูกนำมาประยุกต์ทำมากมาย เช่น ขนมกล้วย กล้วยกวน กล้วยเชื่อม กล้วยแขกทอด ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ข้าวเม่า เป็นต้น
- สี การให้สีในขนมไทย สามารถทำได้ง่ายโดยใช้สีจากธรรมชาติ เช่น สีเขียว ได้จากใบเตย สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน สีเหลืองจากขมิ้น สีแดงจากครั่ง สีดำจากกาบมะพร้าวเผาไฟ
- กลิ่นหอม กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของขนมหวานไทย การให้ความหอมของขนมไทย เช่น ใช้ดอกมะลิ ดอกกระดังงา กลิ่นเทียนอบ กลิ่นใบเตย เป็นต้น
การแต่งกลิ่นของขนมไทย
เอกลักษณ์หนึ่งของขนมไทย คือ กลิ่นหอม ซึ่งความหอมของขนมไทย เป็นวัฒนธรรมความปราณีตด้านอาหาร ประโยชน์ของการแต่งกลิ่นอาหารทำให้อาหารสามารถเก็บได้นานขึ้น และ เพิ่มความอยากกินอาหาร สำหรับวัตถุดิบสำหรับใช้ในการแต่งกลิ่นขนม มีดังนี้
- การอบควันเทียน เป็นการจุดเทียนหอมให้เกิดควันเทียนจากนั้นนำเอาขนมไปอบในควันให้ กลิ่นของควันเทียนหอมเข้าไปถึงเนื้อขนม ทำให้เกิดความหอมสดชื่น
- อบขนมด้วยดอกกุหลาบ ใช้ดอกกุหลาบมอญที่มีกลิ่นหอมพิเศษ นำมาอบอาหารให้กลิ่นของขนมหอมกลิ่นกุหลาบ
- อบขนมด้วยดอกกระดังงา ใช้ดอกกระดังงามาลนไฟให้กลีบดอกช้ำ จากนั้นบีบกระเปราะดอกให้แตก เพื่อให้ความหอมออกมา ขนมมาอบกับกลิ่นดอกกระดังงาได้ขนมที่หอม
- อบขนมด้วยดอกมะลิ ต้องเป็นดอกมะลิชั้นเดียว จึงจะได้ดอกมะลิที่มีกลิ่นหอม นำกลิีบดอกมาโรยบนขนม กลิ่นของขนมจะหอมดอกมะลิ
- อบขนมด้วยดอกชมนาด ดอกชมนาดมีกลิ่นหอมเหมือนข้าวหอมมะลิหุงสุกใหม่ ต้องเป็นดอกชมนาดช่วงเดือนเมษายน
การใช้กลิ่นของเทียนหอม หรือ ดอกไม้มาแต่งกลิ่นของอาหาร มีประเทศไทยเท่านั้นที่มีวันธรรมลักษณะนี้ ขนมไทยหอมๆ อาหารไทยหอมๆ จากความปราณีตและความละเอียดอ่อนของการทำอาหาร
การแต่งสีของขนมไทย
สำหรับขนมไทย นอกจากความปราณีตด้านรสชาติ กลิ่นของขนม แล้วสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ สีสันของขนม โดยขนมไทยนิยมใช้สีจากธรรมชาติมาแต่งสีของขนม สำหรับเคล็ดลับการเลือกใช้วัตถุดิบธรรมขาติมาแต่งสีขนม มีดังนี้
- สีเขียว ได้จากใบเตยหอม โดยใช้ใบเตยหอมแก่ นำมาโขลกละเอีดด ผสมน้ำ และคั้นเอาน้ำสีเขียวมาใช้ผสมเป็นสีอาหาร
- สีเหลือง ได้จากขมิ้น ลูกตาล ลูกพุด และ ดอกกรรณิการ์ สีเหลืองของขมิ้นนำเนื้อขมิ้นมาโขลกผสมน้ำและคั้นเอาสีเหลืิองมาใช้แต่งสีขนม
- สีฟ้า หรือ สีน้ำเงิน ได้จากดอกอัญชััน นำกลีบดอกอัญชันมาโขรกให้ละเอียด และ ผสมน้ำ คั้นเอาสีน้ำเงินจากดอกอัญชันมาแต่งสีขนม
- สีม่วง ได้จากลูกผักปลังสุก แป้งข้าวเหนียวดำ มันเลือดนก โดยนำลูกผักปลังสุกมาโขรก และ ผสมน้ำ คั้นเอาสีม่วงมาแต่งสีขนม
- สีดำ ได้จากกาบมะพร้าว ดอกดิน นำกาบมะพร้าวส่วนของใยมะพร้าวมาเผาไฟจนเป็นถ่าน นำมาผสมน้ำและคั้นกรองเอาเฉพาะน้ำสีนำมาแต่งสีขนม
- สีแดง ได้จากครั่ง ครั่งเป็งแมลงตัวเล็กๆ อยู่ตามต้นก้ามปู นำตัวครั่งมาต้มน้ำจะได้สีแดง จากนั้นกรองเอาสีแดงมาแต่งสีของขนม
ขนมไทยในแต่ละภาค
ประเทศไทยมี 4 ภูมิภาคใหญ่ๆ คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้และภาคอีสาน ขนมของแต่ละภาดก็จะมีความแตกต่างกันตามวัตถุดิบที่าได้มากในแต่ละภูมิภาด และประเพณีที่นิยมในท้องถิ่นนั้นๆ ขนมของภาคต่างๆในประเทศไทยมีรายละเอียด ดังนี้
- ขนมหวานภาคเหนือ
ขนมหวานของชาวภาคเหนือ จะผูกพันกันพิธีกรรม และมักทำจากข้าวเหนียว ใช้วิธีการต้มเป็นหลัก เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก ขนมใส่ไส้ ขนมปาด ข้าวเหนียวแดง ข้าวแตน ข้าวแต๋น ขนมเกลือ เป็นต้น - ขนมหวานภาคกลาง
ขนมหวานชาวภาคกลางจะทำจากข้าวเจ้าเป็นส่วยมาก เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูน ขนมกลีบลำดวน ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น - ขนมหวานภาคอีสาน
ขนมหวานชาวอีสานจะเป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากนั้ก ทำจากแป้งและข้าวเหนียวเป็นหลัก เช่น ข้าวจี่ ข้าวโป่งข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู เป็นต้น - ขนมหวานภาคใต้
ขนมหวานของชาวใต้ นิยมทำขนม เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำ ขนมเจาะหู ขนมไข่ปลา ขนมแดง ใช้ในงานประเพณีสารท เดือนสิบ ตัวอย่างขนมของชาวใต้ เช่น ขนมหน้าไข่ ขนมฆีมันไม้ ขนมจู้จุน ขนมคอเป็ด ขนมคนที ขนมกอแหละ ขนมก้านบัว ข้าวเหนียวเชงา ข้าวเหนียวเสือเกลือก ขี้หมาพองเช ขนมดาดา ขนมกรุบ ขนมก้องถึ่ง
ของหวานไทย มีส่วนร่วมในวิถีชีวิตไทยในทุกเทศกาลและโอกาสต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ขนมที่ใช้ในงานเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆของไทยตลอดทั้งปีสรุปได้ดังนี้
ขนมไทยที่ใช้ในงานเทศกาล
ในเทศกาลต่างๆของไทย การทำขนมเป็นสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับประเพณีไทย ไม่ว่าจะเป็น สงกรานต์ สารทเดือนสิบ ออกพรรษา โดยรายละเอียด เช่น งานสงกรานต์พระประแดง จะนิยมทำกะละแมในงาน งานสารท เดือน 10 ทำขนม ข้าวยาคู ข้าวมธุปายาส ข้าวทิพย์ กระยาสารท กะละแม ขนมกง ขนมไข่ปลา เป็นต้น เทศกาลออกพรรษา นิยมทำข้าวต้มมัด ทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตร ช่วงถือศีลอดของชาวมุสลิม นิยมรับประทานขนมอาเก๊าะ
ขนมไทยกับความเชื่อและพิธีกรรม
ของหวานไทยจะมีเชื่อเรียกที่เป็นมงคลต่างๆ เนื่องจากรสชาติหวาน ทำให้รู้สึกถึงความเป็นสิริมงคลต่อคนรับประทาน ขนมไทยจึงถูกนำมาใช้ในงานประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานขีึ้นบ้านใหม่ งานศพ การสะเดาะห์เคราะห์ เป็นต้น โดยรายละเอียดดังนี้
- การสะเดาะเคราะห์หรือการแก้บน ของชาวไทยมุสลิมจะใช้ข้าวเหนียวสามสี ข้าวพอง ข้าวตอก และขนมเจาะหู มาใช้ นอกจากนี้ งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน ก็ยังถูกนำมาใช้
- งานแต่งงานตามประเพณีไทย จะใช้ขนมมงคล เช่น ทองเอก ขนมชะมด ขนมสามเกลอ ขนมโพรงแสม ขนมรังนก กะละแม ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว ขนมชั้น ขนมเปี๊ยะ ข้าวเหนียวน้ำกะทิ ข้าวตอกนำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ เป็นต้น
- พิธีแต่งงาน ตามประเพณีชาวมุสลิม จะต้องมีการป้อนข้าวและขนมให้บ่าวสาว ในพิธี ขนมไทยที่ใช้ คือ กะละแม ขนมดอดอย ขนมก้อ ขนมลาและข้าวพอง เป็นต้น
- พิธีกรรมต่างๆเช่น การยกเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิ นิยมใช้ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ข้าวตอก งาคั่ว ถั่วทอง ฟักทองแกงบวด
- การไหว้ครูมวยไทย นิยมใช้ กล้วยบวดชี เผือกต้ม มันต้ม ขนมต้มแดงต้มขาว ขนมชั้น ถ้วยฟู ฝอยทอง เม็ดขนุน เป็นต้น
ประโยชน์จากการขนมหวาน
- ขนมหวานให้พลังงานสูง น้ำตาลให้สารคาร์โบไฮเดรต ที่ให้พลังงานสูง (4 กิโลแคลลอรี่ ต่อ 1 กรัม) เป็นพลังงานให้เราเวลาขาดแคลนได้
- ขนมหวาน แก้โรคท้องร่วงได้ ใช้น้ำตาลผสมกับเกลือ สามารถช่วยให้ร่างกายได้รับการฟื้นฟูดีขึ้น
- ขนมหวาน ทำให้มีกำลังวังชา มากขึ้น
โทษจากการกินขนมหวาน
- ทำให้เป็นโรคอ้วน เป็นผลมาจากการได้รับพลังงานจากน้ำตาลมากเกินไป
- ทำให้เป็นโรคเบาหวาน เมื่อได้รับน้ำตาลมากเกินไป ร่างกายก็จะหลั่งสารอินซูลินมากขึ้น
- ทำให้โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจะเกิดควบคู่กับเบาหวาน
ขนมไทย มีความหลากหลายในวัตถุดิบ แต่จะนิยมใช้ผลไม้ น้ำตาลปี๊บและกะทิ จากมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลักในการทำ และภายหลัง ขนมหวาน ได้รับวัฒนธรรมขนมหวานจากต่างประเทศจึงเริ่มนำไข่ไก่และแป้งเข้ามาเป็นวัตถุดิบ จึงทำให้ ขนมหวานไทย มีคามหลากหลายมากยิ่งขึ้น
วิธีทําของหวานรวมมิตร เมนูขนมไทย ขนมหวานไทยมีอะไรบ้าง ขนมโบราณ สมัยใหม่ สูตรของหวาน ประวัติความเป็นมาขนมไทย ชนิดของขนมหวาน การทำขนมหวานไทย ขนมหวาน ของหวาน อาหารว่าง ทำอย่างไร ข้าวเหนียวมูน รวบรวม สูตรขนมหวานไทย มาเสนอต่อท่านให้มาลองทำกินกัน
การทำขนมหวาน จะมีความซับซ้อนสักหน่อย เคล็ดลับความอร่อยของ ขนมไทย ของหวาน เมนูของหวาน ของว่างไทยโบราณ อาหารหวาน เป็นสูตรอาหารไทย สูตรทําเบเกอรี่ สาคูไส้หมู ทับทิมกรอบ บัวลอยไข่หวาน ขนมหวาน ความหลากหลายในวัตถุดิบ ใช้ผลไม้ น้ำตาลปี๊บ กะทิ ทำอาหารหวาน
วัฒนธรรมทางด้านอาหาร มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ด้วยการถ่ายทอดวัฒนธรรมด้านอาหารต่างชาติมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น นอกจากวัตถุดิบต่างๆ ยังมีเครื่องมือในการทำขนมที่มีความทันสมัย ขนมหวานไทย จึงมีการเปลี่ยนแปลง จนคนรุ่นหลังไม่ทราบขนมหวานๆ ของไทยแท้เป็นอย่างไร รายการขนมไทย จำพวกอบ เข้ามาประเทศไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทอง ก็เป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส
ขนมไทยมีอะไรบ้าง สูตรของหวาน ทั้ง ขนมไทยโบราณ และ ของหวานสมัยใหม่ ทำความรู้จักกับ สูตรขนมไทย ตั้งแต่ ประวัติ ชนิดของขนมหวาน การทำเมนูขนมไทย ขนมหวาน ของหวาน อาหารว่างแบบไทยๆ ทำอย่างไร เมนูขนมหวานไทย มีวัตถุดิบที่ใช้ทำขนม หลากหลาย และวิธีทำก็แตกต่างกัน ขนมหวานในแต่และภาค มีอะไรบ้าง สูตรทําเบเกอรี่ เช่น สาคูไส้หมู ทับทิมกรอบ บัวลอยไข่หวาน และอีกมากมาย ในบทความนี้
ขนมไทย ขนมหวาน แบบง่ายๆ ทำกินเองที่บ้านได้ สูตรขนมไทย แบ่งได้ 7 ประเภท คือ ขนมกวน ขนมนึ่ง ขนมเชื่อม ขนมทอด ขนมอบ ขนมต้ม เมนูขนมไทย ชนิดต่างๆพร้อมเทคนิคการทำขนม เคล็ดลับความอร่อย ของว่างไทยโบราณ ทําของหวานง่ายๆที่บ้านมีอะไรบ้าง
แหล่งอ้างอิง
- “ส่อง “อาหารไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา” ต่างชาติว่า คนไทยอยู่กินดีจนขี้เกียจ”. ศิลปวัฒนธรรม.
- ตำราขนมหวาน. กทม. แสงแดด. 2539
- ส. พลายน้อย. เกร็ดย่อยร้อยเรื่อง. กทม. ดอกหญ้า. 2537
- วรดุลย์ ตุลารักษ์. วัฒนธรรมอาหารการกิน:ขนมไข่เหี้ย. ครัว. 4 (37) :88 – 89 กรกฎาคม 2540
- อบเชย อิ่มสบาย, บก. ตำรับขนมไทย. กทม. แสงแดด. 2539
- ฆนนกาล มาตยศิริ. กล้วยในขนมไทย. วัฒนธรรมไทย. 36 (4) : 16 -17, มกราคม 2542
- เฟื่อฟ้า เปียจำปา. อาหารคนเมือง ใน เชียงใหม่ หน้า 236 – 237. สุดารา สุจฉายา , บก. กทม. สารคดี. 2540
- ปาริชาติ เรืองวิเศษ. บก., แม่ฮ่องสอน. กทม. สารคดีม. 2536
- ยูร กมลเสรีรัตน์. ขนมอีสานเมื่อวันวาร. วัฒนธรรมไทย. 36 (4) : 42 – 43 มกราคม 2542
- ปาริชาติ เรืองวิเศษ. อาหารพื้นเมืองเลย. ใน เลย หน้า 173. สุดารา สุจฉายาม บก. กทม. สารคดี. 2539
- สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้. กทม. สถาบันทักษิณคดีศึกษา. 2523
- วันดี ณ สงขลา. อาหารไทยในวรรณคดี เล่ม 2. กทม. ผลิตภัณฑ์การพิมพ์. 2527