X

กล้วยเชื่อม ขนมไทยอร่อยๆ พร้อม 4 เคล็ดลับทำอาหาร

กล้วยเชื่อม ขนมไทย เมนูกล้วย วิธีทำกล้วยเชื่อมทำอย่างไรใส่อะไรบ้าง อาหารง่ายๆทำกินเองที่บ้านได้ กล้วยนำมาเชื่อมกับน้ำตาล กล้วยกรอบๆหนึบๆหวานอร่อยราดน้ำกะทิ

สูตรอาหารยอดนิยม เมนูอาหารสำหรับวันนี้ ขอนำเสนอ ขนมไทย เมนูเชื่อม ขนมหวานจากกล้วย คือ กล้วยเชื่อม เคล็ดลับความอร่อยของอาหารเมนูนี้อยู่ที่ วัตถุดิบคุณภาพ เทคนิคการเตรียมอาหารและการปรุงรสชาติ วิธีเลือกกล้วยค้องกล้วยไข่ห่ามๆ ผลมีสีเหลืองเจือเขียว หากทำเสร็จกล้วยจะสุกพอดีกิน การเชื่อมกล้วยที่อร่อย กล้วยจะต้องเหนียวหนึบ มีความหวาน หอมกลิ่นกล้วย เป็น อีกหนีง ราชาขนมกล้วย สำหรับ คนชอน ขนมเชื่อม

กล้วยเชื่อม ขนมหวานทำจากกล้วย ส่วนผสมและขั้นตอนการทขนมไทยเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับคนรักการทำอาหารหวาน เมนูกล้วย

ส่วนผสมสำหรับทำขนมกล้วยเชื่อม

  • กล้วยน้ำหว้า 1 หวี ( เลือกกล้วยที่สุกห่ามๆ ครึ่งสุกครึ่งดิบ เพราะจำทำให้กล้วยไม่อ่อนเกินไป )
  • น้ำตาล 1 ถ้วย
  • น้ำเปล่า 2 ถ้วย
  • เกลือ 1 ช้อนโต้ะ
  • น้ำปูนใส 1 หม้อ

วิธีทำขนมกล้วยเชื่อม

  1. ปลอกเปลือกกล้วย และหั่นเป็นชิ้นพบคำโดยความยาวต่อชิ้นประมาณ 1 นิ้ว
  2. นำไปแช่น้ำปูนใส ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้น ล้างน้ำปูนใสออกให้หมด
  3. จากนั้นเตรียมหม้อ ต้มน้ำเชื่อม โดยใส่ น้ำตาล เกลือ และ น้ำเปล่า
  4. นำกล้วยลงไปเคี่ยวในหม้อ ใช้ไฟอ่อนๆ สังเกตุสีให้ออกแดง และสักเกตุน้ำเชื่อมในหม้อ หากแห้งให้ค่อยๆเติมน้ำทีละนิด
  5. สังเกตุพอสีเปลี่ยนได้ที่ ก็เสริฟใส่ชาม พร้อมรับประทาน

เคล็ดลับการทำกล้วยเชื่อม

  • การเลือกกล้วย ซึ่งกล้วยที่เหมาะสำหรับนำมาทำ เป้น กล้วยน้ำว้า เลือกกุ้งที่ห่ามๆ เคล็ดลับการทำ คือ การนำกล้วยไปแช่น้ำปูนใส การแช่กล้วยในน้ำปูนใส จะช่วยให้กล้วยแข็งกรอบ เวลากินจะทำให้กล้วยมีความเหนียวหนึบ
  • การหั่นกล้วยสำหรับ นำมาเชื่อมนั้น ไม่เหมือกับ กล้วยแขก นะ ให้หั่นกล้วยตามแนวขวาง เป็น ท่อนหนา จะได้กล้วยกรอบอร่อย
  • น้ำตาล สำหรับนำมาเชื่อมกล้วยนั้น ต้องใช้น้ำตาลทราย น้ำตาลทรายจะซึมเข้าเนื้อกล้วยได้ง่าย ทำให้กล้วยหวานน้ำตาล
  • ขนมกล้วยเชื่อม จะเหมาะสำหรับทานคู่กับน้ำกะทิ ซึ่ง น้ำกะทิ ต้องผ่านการปรุงรส ต้องเป็น น้ำกะทิคั้นสด จะได้น้ำกะทิที่หอมมัน ใส่เลือกนิดหน่อย และ แป้งมันนิดหน่อย ให้กะทิมีความค้นๆ จะเป็นการเพิ่มรสชาติของน้ำกะทิ

nlovecooking.com รวบรวมสูตรอาหารต่างๆ เมนูอาหารที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆสำหรับคยต้องการทำอาหาร ซึ่งเน้นรายละเอียด ส่วนผสม วิธีทำ และ เคล็ดลับในการทำอาหารต่างๆ ซึ่งมีสูตรอาหารต่างๆ เช่น อาหารไทย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น และ อาหารเวียดนาม โดยการแยกสูตรอาหารต่างๆตามเทคนิคการทำอาหาร และ วััตถุดิบในการทำอาหาร เช่น เมนูผัด เมนูแกง เมนูทอด เมนูปิ้งย่าง เมนูนึ่ง เมนูตุ๋น เมนูยำ เมนูหมู เมนูไก่ เมนูปลา เมนูกุ้ง เมนูปลาหมึก เมนูไข่ รวมถึง น้ำจิ้ม น้ำพริก ขนมไทย อาหารเจ และ เครื่องดื่ม สำหรับสูตรอาหารที่เรานำเสนอ เราได้ทดสอบ ลองชิมรสชาติว่าอร่อยแล้ว แต่ความอร่อยของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ท่านจำเป็นต้องนำเอาไปปรับปรุงรสชาติให้ได้รสชาติที่ถูกใจท่านเอง สำหรับความอร่อยของอาหารแต่ละประเภทมีหลักการอยู่ง่ายๆ คือ หนึ่งวัตุถุดิบต้องมีคุณภาพ ความสด ความใหม่ของวัตถุดิบต่างๆมีความสำคัญ สองเทคนิคการเตรียมอาหาร ความเข้าใจในธรรมชาติของวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร อะไรสุกง่าย อะไรสุกยาก รสชาติพื้นฐานของวัตถุดิบนั้นๆ และ สามการปรุงรสชาติ ซึ่งการปรุงรสชาติสำคัญที่สุด รสชาติของอาหารที่จะอร่อยหรือไม่อยูู่ที่การปรุงรสให้ถูกปาก เราหวังว่าท่านจะประทับใจในสูตรอาหารต่างๆที่เรานำเสนอนี้

ขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งความละเอียดอ่อนช้อยความประณีตตั้งแต่การเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ การปรุงรสชาติ สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ที่ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจงต่าๆ ขนมไทย ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวและใช้ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรรมชาติ ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งข้าวแบบเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้ง นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่นๆ เช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาล  ขนมไทยมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตไทยในทุกเทศกาลและโอกาสต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ขนมที่ใช้ในงานเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆของไทยตลอดทั้งปี ขนมไทยยั้งได้รับอิทธิพลจากขนมของชาติอื่น มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและวัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคแบบไทย จนทำให้คนรุ่นหลัง แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้

กล้วยเชื่อม ขนมไทยจากกล้วย วิธีทำกล้วยเชื่อม ง่ายๆทำกินเองที่บ้านได้ เมนูเชื่อม ขนมกล้วยเชื่อมทำอย่างไร อยากกินของหวานจากกล้วย เคล็ดลับการเลือกวัตถุดิบ และ การทำขนม กล้วยทำอะไรกินได้บ้าง กล้วยกับขนมไทย กล้วยมีส่วนเกี่ยวข้องกับขนมไทยหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นขนมกล้วย กล้วยกวน กล้วยเชื่อม กล้วยแขกทอด หรือใช้กล้วยเป็นไส้ เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ข้าวเม่า กล้วยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยแต่ละชนิดเมื่อนำมาทำขนมบางครั้งจะให้สีต่างกัน เช่น กล้วยน้ำว้าเมื่อนำไปเชื่อมให้สีแดง กล้วยไข่ให้สีเหลือง เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง

  • https://th.wikipedia.org/wiki/ขนมไทย สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2567
  • ตำราขนมหวาน. กทม. แสงแดด. 2539
  • ส. พลายน้อย. เกร็ดย่อยร้อยเรื่อง. กทม. ดอกหญ้า. 2537
  • วรดุลย์ ตุลารักษ์. วัฒนธรรมอาหารการกิน:ขนมไข่เหี้ย. ครัว. 4 (37) :88 – 89 กรกฎาคม 2540
  • อบเชย อิ่มสบาย, บก. ตำรับขนมไทย. กทม. แสงแดด. 2539
  • ฆนนกาล มาตยศิริ. กล้วยในขนมไทย. วัฒนธรรมไทย. 36 (4) : 16 -17, มกราคม 2542
  • เฟื่อฟ้า เปียจำปา. อาหารคนเมือง ใน เชียงใหม่ หน้า 236 – 237. สุดารา สุจฉายา , บก. กทม. สารคดี. 2540
  • ปาริชาติ เรืองวิเศษ. บก., แม่ฮ่องสอน. กทม. สารคดีม. 2536
  • ยูร กมลเสรีรัตน์. ขนมอีสานเมื่อวันวาร. วัฒนธรรมไทย. 36 (4) : 42 – 43 มกราคม 2542
  • ปาริชาติ เรืองวิเศษ. อาหารพื้นเมืองเลย. ใน เลย หน้า 173. สุดารา สุจฉายาม บก. กทม. สารคดี. 2539
  • สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้. กทม. สถาบันทักษิณคดีศึกษา. 2523
  • วันดี ณ สงขลา. อาหารไทยในวรรณคดี เล่ม 2. กทม. ผลิตภัณฑ์การพิมพ์. 2527
  • ตำราขนมหวาน. กทม. แสงแดด.2539
  • พลศรี คชาชีวะ. ขนมมิ่งมงคล. แม่บ้านทันสมัย. 11 (151):20 – 25, พฤศจิกายน 2539
Mr.Cooking: ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร จากประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ผ่านเว็บไซต์อาหารที่ดีที่สุดในโลก อย่าง nlovecooking.com