X

เมนูเต้าหู้ 50 อาหารง่ายๆมีเต้าหู้เป็นส่วนผสม พร้อมเคล็ดลับ

เมนูเต้าหู้ สูตรอาหารอร่อยๆจากเต้าหู้ เต้าหู้ทำอะไรกินได้บ้าง เมนูอาหารอร่อยๆจากเต้าหู้ หลากหลาย ต้ม ผัด แกง ทอด อร่อยง่ายๆพร้อมเคล็ดลับสำหรับคนรักการทำอาหาร

เต้าหู้ เป็นอาหารแปรรูปจากถั่วเหลือง ซึ่งเต้าหู้สามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนูอาหาร ซึ่งเต้าหู้ที่นิยมนำมาทำอาหาร เช่น เต้าหู้แผ่น เต้าหู้อ่อน เต้าหู้ไข่ สูตรอาหารเมนูเต้าหู้ ที่น่าสนใจมีดังนี้

เต้าหู้หน้าไข่เห็ดหอม
ส้มตำเต้าหู้กรอบ
เต้าหู้ทอดไข่คลุก
เต้าหู้ผัดมันฝรั่ง
เต้าหู้ทรายทอง
แกงจืดเต้าหู้ไข่ม้วน
แกงจืดตำลึงเต้าหู้หมูสับ
ผัดเต้าหู้หมูสับ
เต้าหู้นมสด
น้ำพริกเต้าหู้ยี้ พล่าเต้าหู้ทอดกรอบ
เต้าหู้ทอดทรงเครื่อง สลัดเต้าหู้

เมนูเต้าหู้ ( tofu recipes ) คือ อาหารที่มีเต้าหู้เป็นส่วนประกอบ เต้าหู้ทำอะไรกินได้บ้าง เมนูเต้าหู้ หลากหลาน ทั้ง เมนูต้ม เมนูผัด เมนูแกง เมนูทอด สูตรอาหารจากเต้าหู้อร่อยๆทั้ง เต้าหู้ไข่ เต้าหู้อ่อน เต้าหู้แข็ง เต้าหู้เจ เป็นต้นอาหารเจ มีเต้าหู้ทำอะไรกินดี เมนูง่ายๆ จากเต้าหู้ สำหรับคนรักเต้าหู้ ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน

ประเภทของเต้าหู้

เต้าหู้ คือ อาหารที่แปรรูปจากถั่วเหลือง ซึ่งรูปแบบของเต้าหู้ มีหลาย ชนิด ประกอบด้วย เต้าหู้แข็ง เต้าหู้อ่อน และ เต้าหู้นิ่ม (เต้าหู้หลอด ) เต้าหู้ทอด ฟองเต้าหู้ เต้าหู้แต่ละชนิดสามารถนำมาทำอาหารแตกต่างกันตามประเภทของเต้าหู้ รายละเอียดของชนิดของเต้าหู้ มีดังนี้

  • เต้าหู้แข็ง ลักษณะเด่น คือ สีขาว เป็นก้อน รสชาติจืด เต้าหู้แข็ง นิยมนำมาทำ พะโล้ แกงจืด เต้าหู้ทอด ผัดเต้าหู้ เป็นต้น
  • เต้าหู้อ่อน ลักษณะเด่น คือ สีขาว เนื้อเต้าหุ้นุ่ม และ รสชาติจืด นิยมนำมาทำแกงจืด
  • เต้าหู้เหลือง ชนิดแข็ง ลักษณะเด่น คือ ผิวสีเหลือง เป็นก้อน รสชาติเค็มนิดหน่อย นิยมนำมาทำผัดไท ก่วยเตี๋ยวหลอด เต้าหู้ผัดขิง เป็นต้น
  • เต้าหู้เหลือง ชนิดอ่อน ลักษณะเด่น คือ มีสีเหลือง เนื้อในขาว เนื้อเต้าหู้นุ่ม และรสชาติจืด นิยมนำมาทำ เต้าหู้ทรงเครื่อง เต้าหู้น้ำแดง เป็นต้น
  • เต้าหู้ซี้อิ้วดำ ลักษณะเด่น คือ มีสีดำ เป็นก้อน รสหวาน เนื้อเหนียว นิยมนำมาทำ ก๋วยเตี๋ยวหลอด ยำ หรือ ผัดเต้าหู้ เป็นต้น
  • เต้าหู้หลอด ลักษณะเด่น คือ เนื้อเต้าหู้นิ่ม บรรจุในหลอดพลาสติก นิยมนำไปทำแกงจืด เต้าหู้ทรงเครื่อง เป็นต้น
  • เต้าหู้ญี่ปุ่นชนิดอ่อน ( คินุ ) ลักษณะ เหมือนเต้าหู้ขาวชนิดอ่อน นิยมนำมาทำ แกงจืด
  • เต้าหู้ญี่ปุ่นชนิดแข็ง ( โมเม็ง ) ลักษณะ เหมือนเต้าหู้แข็ง นิยมใส่ในสุกียากี้ ทำเต้าหู้ทอด เป็นต้น
  • ฟองเต้าหู้ เป็นลักษณะแผ่น นำมาห่อเนื้อหมู หรือ ใส่ในแกงจืด หรือ กินกับข้าวต้ม เป็นต้น

วิธีเลือกซื้อเต้าหู้

สำหรับการเลือกซื้อเต้าหู้ นั้น ควรเลือกซื้อเต้าหู้ที่ สดๆ แผ่นห่อด้วยใบตอง หรือ บรรจุในภาชนะเป็นอย่างดี สะอาด มีสีขาวนวลเป็นปกติ กลิ่นหอม ไม่มีเมือก ไม่มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว รูปทรงปรกติ

ประโยชน์จากการกินเต้าหู้

  • เต้าหู้มีโปรตีนสูง สามารถกินทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้
  • เต้าหู้มีแคลเซียม ช่วยบำรุงฟันและกระดูก ลดความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน
  • เต้าหู้มีโปรตีน เวลารับประทานเข้าไป ทำให้อยู่ท้องกว่าการกินอาหารชนิดอื่น ทำให้ระบบขับถ่ายดี
  • เต้าหู้มีไขมันน้อย เหมาะสำหรับลดความอ้วน
  • กินเต้าหุ้ประจำ จะช่วยความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
  • เต้าหู้ช่วยลดคอเลสเตอรอล รักษาลดน้ำตาลในเลือด
  • เต้าหู้ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม และ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

ข้อควรระวังในการกินเต้าหู้

  • มีงานวิจัยว่า เต้าหู้ มี สารไฟโตเอสโตรเจน สามารถทำเซลล์มะเร็งเติบโตได้ดี หากกินในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้
  • มีวิจัยจากประเทศจีน พบว่า น้ำเต้าหู้ มีสารสำคัญทำให้การเจริญเติบโตของเด็กเข้าสู่วัยรุ่น เร็วขึ้น
  • ในน้ำเต้าหู้ นิยมใส่น้ำตาล หากกินหวานเกินไป อาจทำให้เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงได้

เมนูเต้าหู้ อาหารต่างๆจากเต้าหู้ นั้น สามารถนำมาประยุกต์กับ สูตรอาหาร ต่างๆ หลากหลาย เมนูอาหาร อาหาร แบบง่ายๆ กับข้าวจากเต้าหู้ รวม รายการอาหาร โปรตีนทดแทนจากเนื้อสัตว์ รวม สูตรอาหารจากถั่วเหลือง มากมาย สำหรับ เพื่อนๆ คนรักการทำอาหาร เมนูอาหาร จากเต้าหู้ เมนูอาหาร ง่ายๆ เมนูเต้าหู้ ทั้ง เต้าหู้ไข่ เต้าหู้อ่อน เต้าหู้ทำอะไรได้บ้าง กับข้าวเมนูเต้าหู้ เต้าหู้  อาหารที่มีโปรตีน อาหารที่ทำจากเต้าหู้ นั้นอร่อย สูตรอาหารจากเต้าหู้ ทั้งเมนูต้ม ผัด แกง ทอด สำหรับคนรักเต้าหู้

แหล่งอ้างอิง

  • https://th.wikipedia.org/wiki/เต้าหู้
  • Anderson, J. W.; Johnstone, B.M.; Cook-Newell, M.E. (1995), “Meta-Analysis of the Effects of Soy Protein Intake on Serum Lipids”, New England Journal of Medicine, 333 (5): 276–282, doi:10.1056/NEJM199508033330502, PMID 7596371
  • Ang, Catharina Y. W.; Liu, KeShun; Huang, Yao-Wen, บ.ก. (1999), Asian Foods: Science & Technology, Lancaster, Pennsylvania: Technomic Publishing Co.
  • Du Bois, Christine M., Chee Beng Tan and Sidney Wilfred Mintz (2008). The World of Soy. Urbana: University of Illinois Press. ISBN 978-0-252-03341-4.
  • Guo, Shun-Tang; Ono, Tomotada (2005). “The Role of Composition and Content of Protein Particles in Soymilk on Tofu Curding by Glucono-δ-lactone or Calcium Sulfate”. Journal of Food Science. 70 (4): 258–262. doi:10.1111/j.1365-2621.2005.tb07170.x..
  • Liu, KeShun (2012). Soybeans: Chemistry, Technology and Utilization. Springer. ISBN 978-1-4615-1763-4. สืบค้นเมื่อ 2021-02-18.
  • Needham, Joseph. Science and Civilisation in China. Cambridge University Press.
  • Shurtleff, William; Aoyagi, Akiko (1998), The book of tofu: protein source of the future– now!, Ten Speed Press, ISBN 978-1-58008-013-2.
  • Shurtleff, William; Aoyagi, Akiko (2000). Tofu & soymilk production: a craft and technical manual (3rd ed.). Lafayette, California: Soyfoods Center. ISBN 978-1-928914-04-4. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
  • Shurtleff, William; Aoyagi, Akiko (2004d). “Chapter 36: History of Tofu”. History of Soybeans and Soyfoods: 1100 B.C. to the 1980s, Volume IV, The History of Traditional Non-Fermented
  • Soyfoods. Soyinfo Center. สืบค้นเมื่อ 2007-06-16.