ขนมไทย

ขนมข้าวเกรียบอ่อน วิธีทำขนมข้าวเกรียบอ่อนทำอย่างไร อาหารง่ายๆทำกินเองได้  ขนมหวานชลบุรี แป้งนึ่งห่อไส้ถั่วเขียว ขนมไทยสีสันสดใส รสชาติถูกปาก เคล็ดลับการทำอย่างไร

ขนมข้าวเกรียบอ่อน ขนมไทย อาหารไทย

สูตรอาหาร เมนูอาหารยอดนิยมสำหรับวันนี้ ขอนำเสนอ สูตรขนมไทย ขนมแป้งนึ่ง แบบง่ายๆ คือ ขนมข้าวเกรียบอ่อน หน้าตาและสีสันคล้าย ๆ กับ ขนมถั่วแปบ แต่มีความแตกต่างที่แป้งที่นำมาใช้ทำขนม ขนมถั่วแปบ จะใช้แป้งข้าวเหนียว ส่วน ขนมข้าวเกรียบอ่อนจะใช้แป้งข้าวเจ้า เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่ วัตถุดิบคุณภาพ เทคนิคการเตรียมอาหาร และ การทำขนม

ขนมข้าวเกรียบอ่อน ง่ายๆส่วนผสมและขั้นตอนการทำเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับคนรักการทำขนมไทย

ส่วนผสมสำหรับทำขนมข้าวเกรียบอ่อน

  • ถั่วเขียวผ่าสีซีก 400 กรัม
  • เนื้อมะพร้าวขูดฝอย 100 กรัม
  • น้ำตาลทราย 500 กรัม
  • แป้งข้าวเจ้า 800 กรัม
  • แป้งท้าว 200 กรัม
  • แป้งมัน 400 กรัม
  • หัวกะทิ 500 กรัม
  • งาดำคั่ว 3 ช้อนโต้ะ
  • น้ำใบเตยคั้นสด 2 ช้อนโต้ะ
  • มะพร้าวขูดผอย 200 กรัม

วิธีทำขนมข้าวเกรียบอ่อน

  • เริ่มจากการเตรียมไส้ถั่วเขียว โดยการล้างถั่วเขียวให้สะอาด โดยล้างจนกว่าน้ำล้างถั่วเขียวจะใส และ แช่น้ำทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 4 ชั่วโมง ให้คัดเอาถั่วเขียวที่ลอยน้ำออก เนื่องจากเป็นถั่วเสีย หากนำมาทำขนมจะมีกลิ่นหืนไม่น่ารับประทาน
  • จากนั้นนำถั่วเขียวไปนึ่ง ใช้เวลานึ่ง 50 นาที จากนั้นใส่มะพร้าวขูดฝอย 100 กรัมลงไปนึ่งกับถุั่วเขียว อีก 10 นาที รวมเวลานึ่งถั่วเขียวทั้งหมด 1 ชั่วโมง จะได้ถั่วเขียวที่นุ่มและสุก
  • จากนั้นนำถั่วเขียวนึ่งมาปรุงรสด้วยน้ำตาล ผสมและกวนถั่วเขียวจะได้ถั่วเขียวนึ่งเนื้อนวลๆ จากนั้นพักเอาไว้ก่อน รอทำแป้ง
  • เตรียมมะพร้าวขูดคั่ว โดยตั้งกระทะ นำเนื้อมะพร้าวขูดลงไปคั่วให้แห้งและเหลืองกรอบ อร่อย จากนั้นก็พักเอาไว้ก่อน
  • เตรียมแป้งนึ่ง โดย ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งท้าวยายม่อม และแป้งมันเข้าด้วยกัน ใส่หัวกะทิลงไป ผสมให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน ใส่น้ำตาลทรายลงไป 500 กรัม และ งาดำคั่ว หมักทิ้งไว้ 45 นาที และ กวนให้เนื้อแป้งเข้ากัน
  • เตรียมหม้อนึ่ง โดย นำผ้าขาวคอทต้อน ขึงที่ปากของหม้อนึ่ง และ เจาะรูให้มีที่ระบายไอน้ำ ใส่น้ำครึ่งหม้อ และต้มให้น้ำเดือด
  • เริ่มทำขนมโดย เทแป้งลงไปบนผ้านึ่งให้เป็นแผ่นกลมๆ ความหนาพอดี ไม่หนาและไม่บางเกินไป นึ่งประมาณ 20 วินาที วางไส้ถั่วเขียวบนแป้งนึ่ง และ ห่อทับ เสริฟใส่จาน ก็รับประทานได้

เคล็ดลับการทำขนมข้าวเกรียบอ่อน

  • แป้ง ต้องใช้แป้งข้าวเจ้า แป้งเท้ายายม่อม และ แป้งมัน ผสมในอัตราส่วนที่พอดี การนวนแป้ง ให้หมักทิ้งไว้ให้แป้งอิ่มน้ำเนื้อแป้งจึงจะเข้ากัน เวลานึ่งแป้งจึงจะได้ตามที่ต้องการ
  • ถั่วเขียว ให้เลือกถั่วเขียวผ่าซีกแบบใหม่ๆ ยิ่งใหม่ถั่วยิ่งอร่อย โดยต้องนำถั่วไปล้างให้สะอาด ล้างจนน้ำใส และ แช่น้ำทิ้งไว้ 4 ชั่วโมง และ ต้องคัดเอาถั่วเสียออกด้วย ถั่วเสียจะลอยน้ำ ให้คัดออก หากนำถั่วเขียวเสียมาทำขนม ถั่วเขียวจะมีกลิ่นหืน
  • มะพร้าวขูด ให้ใช้เนื้อมะพร้าวใหม่ๆขูดจะได้มะพร้าวที่หอมอร่อยนุ่ม
  • กะทิ ให้เลือกใช้น้ำกะทิคั้นจากเนื้อมะพร้าวขูดแบบสดๆ ความสดของน้ำกะทิจะทำให้อาหารอร่อยๆ และ หอมแบบธรรมชาติ
  • งาดำ ต้องนำมาคั่วเอง คั่วแบบสดๆ จะได้งาที่มีความหอมอร่อย
  • น้ำใบเตย ให้เลือกใช้ใบเตยนำมาคั้นน้ำสีเขียว ไม่ใช้สีผสมอาหาร เราจะได้อาหารที่มาจากธรรมชาติจริงๆ
  • ผ้าสำหรับใช้ขึงปากหม้อ ต้องใช้ผ้าโทเล ผ้าแบบเสื้อนักเรียน หรือผ้าที่มีเนื้อละเอียดจึงจะทำให้ผ้าไม่ติดแป้ง และต้องขึงให้ผ้าตึงๆ
  • น้ำที่ใช้ในการนึ่งต้องใส่ให้มากหน่อย และใช้น้ำเดือด จึงจะทำให้ไอน้ำดันแป้งให้สุดและไม่ติดผ้า

nlovecooking.com รวบรวมสูตรอาหารต่างๆ เมนูอาหารที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆสำหรับคยต้องการทำอาหาร ซึ่งเน้นรายละเอียด ส่วนผสม วิธีทำ และ เคล็ดลับในการทำอาหารต่างๆ ซึ่งมีสูตรอาหารต่างๆ เช่น อาหารไทย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น และ อาหารเวียดนาม โดยการแยกสูตรอาหารต่างๆตามเทคนิคการทำอาหาร และ วััตถุดิบในการทำอาหาร เช่น เมนูผัด เมนูแกง เมนูทอด เมนูปิ้งย่าง เมนูนึ่ง เมนูตุ๋น เมนูยำ เมนูหมู เมนูไก่ เมนูปลา เมนูกุ้ง เมนูปลาหมึก เมนูไข่ รวมถึง น้ำจิ้ม น้ำพริก ขนมไทย อาหารเจ และ เครื่องดื่ม สำหรับสูตรอาหารที่เรานำเสนอ เราได้ทดสอบ ลองชิมรสชาติว่าอร่อยแล้ว แต่ความอร่อยของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ท่านจำเป็นต้องนำเอาไปปรับปรุงรสชาติให้ได้รสชาติที่ถูกใจท่านเอง สำหรับความอร่อยของอาหารแต่ละประเภทมีหลักการอยู่ง่ายๆ คือ หนึ่งวัตุถุดิบต้องมีคุณภาพ ความสด ความใหม่ของวัตถุดิบต่างๆมีความสำคัญ สองเทคนิคการเตรียมอาหาร ความเข้าใจในธรรมชาติของวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร อะไรสุกง่าย อะไรสุกยาก รสชาติพื้นฐานของวัตถุดิบนั้นๆ และ สามการปรุงรสชาติ ซึ่งการปรุงรสชาติสำคัญที่สุด รสชาติของอาหารที่จะอร่อยหรือไม่อยูู่ที่การปรุงรสให้ถูกปาก เราหวังว่าท่านจะประทับใจในสูตรอาหารต่างๆที่เรานำเสนอนี้

ขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งความละเอียดอ่อนช้อยความประณีตตั้งแต่การเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ การปรุงรสชาติ สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ที่ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจงต่าๆ ขนมไทย ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวและใช้ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรรมชาติ ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งข้าวแบบเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้ง นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่นๆ เช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาล  ขนมไทยมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตไทยในทุกเทศกาลและโอกาสต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ขนมที่ใช้ในงานเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆของไทยตลอดทั้งปี ขนมไทยยั้งได้รับอิทธิพลจากขนมของชาติอื่น มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและวัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคแบบไทย จนทำให้คนรุ่นหลัง แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่นเป้นอย่างไร เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น-โปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงสุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่ไข่มักเป็น ขนมจากต่างประเทศ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส ฟักทองสังขยาเป็นหนึ่งในขนมไทย ทีมีส่วนผสมของฟักทองนึ่งใส่สังขยา

ขนมข้าวเกรียบอ่อน เป็นขนมขึ้นชื่อของทางภาคตะวันออก โดยเฉพาะชลบุรี เป็นแป้งนึ่งห่อไส้ถั่วเขียวแสนอร่อย เป็นขนมไทยที่มีสีสันสดใส รสชาติถูกปากอีกหนึ่งเมนู อร่อยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ วิธีทำขนมข้าวเกรียบอ่อน มีเคล็ดลับการทำอย่างไร

แหล่งอ้างอิง

  • https://th.wikipedia.org/wiki/ขนมไทย สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2567
  • ตำราขนมหวาน. กทม. แสงแดด. 2539
  • ส. พลายน้อย. เกร็ดย่อยร้อยเรื่อง. กทม. ดอกหญ้า. 2537
  • วรดุลย์ ตุลารักษ์. วัฒนธรรมอาหารการกิน:ขนมไข่เหี้ย. ครัว. 4 (37) :88 – 89 กรกฎาคม 2540
  • อบเชย อิ่มสบาย, บก. ตำรับขนมไทย. กทม. แสงแดด. 2539
  • ฆนนกาล มาตยศิริ. กล้วยในขนมไทย. วัฒนธรรมไทย. 36 (4) : 16 -17, มกราคม 2542
  • เฟื่อฟ้า เปียจำปา. อาหารคนเมือง ใน เชียงใหม่ หน้า 236 – 237. สุดารา สุจฉายา , บก. กทม. สารคดี. 2540
  • ปาริชาติ เรืองวิเศษ. บก., แม่ฮ่องสอน. กทม. สารคดีม. 2536
  • ยูร กมลเสรีรัตน์. ขนมอีสานเมื่อวันวาร. วัฒนธรรมไทย. 36 (4) : 42 – 43 มกราคม 2542
  • ปาริชาติ เรืองวิเศษ. อาหารพื้นเมืองเลย. ใน เลย หน้า 173. สุดารา สุจฉายาม บก. กทม. สารคดี. 2539
  • สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้. กทม. สถาบันทักษิณคดีศึกษา. 2523
  • วันดี ณ สงขลา. อาหารไทยในวรรณคดี เล่ม 2. กทม. ผลิตภัณฑ์การพิมพ์. 2527
ขนมไทย

บัวลอยมันส้ม วิธีทำบัวลอยมันส้มทำอย่างไร ขนมง่ายๆทำกินเองได้ ขนมไทยอร่อยๆ เคล็ดลับความอร่อยของบัวลอย อยู่ที่แป้งบัวลอยและน้ำกะทิ ไม่หวาน ไม่เค็ม มีความพอดี

บัวลอยมันส้ม เมนูกะทิ ขนมไทย อาหารไทย

อาหารไทย ยอดนิยมสำหรับวันนี้ขอนำเสนอ เมนูขนมไทย แบบง่ายๆ เป็น ขนมกะทิ คือ บัวลอยมันส้ม เคล็ดลับความอร่อยของบัวลอยมันส้ม อยู่ที่ วัตถุดิบคุณภาพ เทคนิคการเตรียมอาหาร การปรุงรสชาติ

บัวลอยมันส้ม ส่วนผสมและขั้นตอนการทำ เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับคนรักการทำอาหาร เมนูกะทิ

ส่วนผสมสำหรับทำบัวลอยมันส้ม

  • แป้งมัน 1 กิโลกรัม
  • แป้งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
  • มันเทศสีส้ม 1 ลูก
  • แครอท 1 ลูก
  • น้ำอุ่น 1/2 ถ้วยตวง
  • ใบเตย 3-4 ใบ
  • เกลือ 1 ช้อนชา
  • หัวกะทิ 1 กิโลกรัม
  • หางกะทิ 1 กิโลกรัม
  • น้ำตาลปี๊บ 1/2 กิโลกรัม
  • เนื้อมะพร้าวอ่อนขูด 1 ถ้วยตวง
  • เผือกหั่นเป็นลูกเต๋า 1 ถ้วยตวง

วิธีทำบัวลอยมันส้ม

  • เริ่มจากการนำเผือก มันเทศ และ แครอท มานึ่งให้สุกก่อน โดยใช้เวลานึ่งประมาณ 30 นาที จะได้เผือกที่สุกพอดี และไม่เละ จากนั้นให้นำเผือกมาพักเอาไว้ก่อน
  • ส่วน มันเทศ และ แครอท ให้นำมาบดให้ละเอียด และพักเอาไว้ก่อน
  • เริ่มทำแป้งบัวลอย โดย ผสม แป้งมันและแป้งข้าวเหนียวให้เข้ากัน ใส่น้ำอุ่นลงไป นวดให้แป้งเหนียมและจับตัวกัน
  • ใส่มันเทศและแครอทบดลงไปผสมกับแป้งบัวลอย นวดให้แป้งเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นให้นำมาปั้นเป็นเม็ดบัวลอย ให้มีขนาดพอดีและเท่ากัน ไม่หนาหรือบางเกินไป
  • เตรียมน้ำกะทิ โดยให้ต้มหัวกะทิ และ หางกะทิ ด้วยไปอ่อนๆใส่ใบเตยลงไปด้วย เมื่อกะทิแตกมัน ให้ช้อนเอาส่วนที่แตกมันเก็บใส่ชามเอาไว้ จากนั้น เติมน้ำตาลปี๊บลงไปในหม้อต้มกะทิ เมื่อน้ำตาลละลายก็ปิดไฟได้
  • เริ่มต้มเม็ดบัวลอยโดย ต้มน้ำใส่ใบเตย และ น้ำเชื่อม รอให้น้ำเดือดจัด จึงนำเม็ดบัวลอยลงไปต้ม เมื่อเม็ดบัวลอย ลอยขึ้นมาแสดงว่าสุกพร้อมทานแล้ว นำมาพักใส่น้ำเชื่อมเอาไว้
  • เสริฟบัวลอย โดย ใส่เม็ดบัวลอยลงไปในน้ำกะทิ พร้อมกับเครื่องบัวลอย เช่น เผือกนึ่ง และ เนื้อมะพร้าวอ่อน เท่านี้ก็พร้อมสำหรับรับประทานได้

เคล็ดลับการทำบัวลอยมันส้ม

  • การเลือกใช้กะทิ ต้องเลือกใช้กะทิที่คั้นสดๆจากเนื้อมะพร้าวขูด การคั้นเอาหัวกะทิ ไม่ต้องผสมน้ำเลย จะได้กะทิที่มีความมันและหอม ส่วนหางกะทิ เป็น เนื้อมะพร้าวที่ผสมน้ำลงไปและคั้นจากมะพร้าวขูดรอบสอง
  • เทคนิคการต้มเม็ดบัวลอยให้เหนียวนุ่ม ต้องต้มน้ำเชื่อม จะได้เนื้อบัวลอยที่มีความหวานแทรก และ เนื้อเด้ง เหนียว
  • การเตรียมเผือกนึ่ง ต้องไม่หั่นให้เล็กเกินไป เนื่องจาก เวลานึ่งอาจทำให้เผือกเละไม่น่ารับประทาน โดยให้แยกเสริฟ อย่านำไปใส่ในน้ำกะทิ เพราะมันจะเละไม่น่ารับประทาน
  • น้ำตาล สำหรับขนมหวาน ให้เลือกใช้น้ำตาลป๊ีบ โดยเทคนิคการทำ ให้ค่อยๆ ใส่น้ำตาล จนได้ความหวานที่พอดี หากใส่มากเกินไป และใส่ทีเดียวเลย หากหวานเกินไปจะแก้ไขยาก

nlovecooking.com รวบรวมสูตรอาหารต่างๆ เมนูอาหารที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆสำหรับคยต้องการทำอาหาร ซึ่งเน้นรายละเอียด ส่วนผสม วิธีทำ และ เคล็ดลับในการทำอาหารต่างๆ ซึ่งมีสูตรอาหารต่างๆ เช่น อาหารไทย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น และ อาหารเวียดนาม โดยการแยกสูตรอาหารต่างๆตามเทคนิคการทำอาหาร และ วััตถุดิบในการทำอาหาร เช่น เมนูผัด เมนูแกง เมนูทอด เมนูปิ้งย่าง เมนูนึ่ง เมนูตุ๋น เมนูยำ เมนูหมู เมนูไก่ เมนูปลา เมนูกุ้ง เมนูปลาหมึก เมนูไข่ รวมถึง น้ำจิ้ม น้ำพริก ขนมไทย อาหารเจ และ เครื่องดื่ม สำหรับสูตรอาหารที่เรานำเสนอ เราได้ทดสอบ ลองชิมรสชาติว่าอร่อยแล้ว แต่ความอร่อยของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ท่านจำเป็นต้องนำเอาไปปรับปรุงรสชาติให้ได้รสชาติที่ถูกใจท่านเอง สำหรับความอร่อยของอาหารแต่ละประเภทมีหลักการอยู่ง่ายๆ คือ หนึ่งวัตุถุดิบต้องมีคุณภาพ ความสด ความใหม่ของวัตถุดิบต่างๆมีความสำคัญ สองเทคนิคการเตรียมอาหาร ความเข้าใจในธรรมชาติของวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร อะไรสุกง่าย อะไรสุกยาก รสชาติพื้นฐานของวัตถุดิบนั้นๆ และ สามการปรุงรสชาติ ซึ่งการปรุงรสชาติสำคัญที่สุด รสชาติของอาหารที่จะอร่อยหรือไม่อยูู่ที่การปรุงรสให้ถูกปาก เราหวังว่าท่านจะประทับใจในสูตรอาหารต่างๆที่เรานำเสนอนี้

ขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งความละเอียดอ่อนช้อยความประณีตตั้งแต่การเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ การปรุงรสชาติ สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ที่ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจงต่าๆ ขนมไทย ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวและใช้ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี ภาชนะ กลิ่นหอมจากธรรมชาติ ข้าวที่ใช้ในขนมไทยมีทั้งข้าวแบบเม็ดและข้าวที่อยู่ในรูปแป้ง นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบอื่นๆ เช่น มะพร้าว ไข่ น้ำตาล  ขนมไทยมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตไทยในทุกเทศกาลและโอกาสต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ขนมที่ใช้ในงานเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆของไทยตลอดทั้งปี ขนมไทยยั้งได้รับอิทธิพลจากขนมของชาติอื่น มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและวัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคแบบไทย จนทำให้คนรุ่นหลัง แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่นเป้นอย่างไร เช่น ขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น-โปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงสุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่ไข่มักเป็น ขนมจากต่างประเทศ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส ฟักทองสังขยาเป็นหนึ่งในขนมไทย ทีมีส่วนผสมของฟักทองนึ่งใส่สังขยา

บัวลอย ขนมไทยที่ทำง่าย สามารถทำกินเองที่บ้านได้ วิธีทำบัวลอยมันส้ม เป็นเม็ดบัวลอยที่มีส่วนผสมของมันเทศและแครอท ให้สีสันที่สดใส ขนมหวานแบบง่ายๆ น้ำกะทิสูตรยอดเยี่ยม น้ำกะทิใบเตยหอมอร่อย เคล็ดลับความอร่อยของบัวลอย อยู่ที่แป้งบัวลอยและน้ำกะทิ ที่ไม่หวาน ไม่เค็ม ต้องมีความพอดี

แหล่งอ้างอิง

  • https://th.wikipedia.org/wiki/ขนมไทย สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2567
  • ตำราขนมหวาน. กทม. แสงแดด. 2539
  • ส. พลายน้อย. เกร็ดย่อยร้อยเรื่อง. กทม. ดอกหญ้า. 2537
  • วรดุลย์ ตุลารักษ์. วัฒนธรรมอาหารการกิน:ขนมไข่เหี้ย. ครัว. 4 (37) :88 – 89 กรกฎาคม 2540
  • อบเชย อิ่มสบาย, บก. ตำรับขนมไทย. กทม. แสงแดด. 2539
  • ฆนนกาล มาตยศิริ. กล้วยในขนมไทย. วัฒนธรรมไทย. 36 (4) : 16 -17, มกราคม 2542
  • เฟื่อฟ้า เปียจำปา. อาหารคนเมือง ใน เชียงใหม่ หน้า 236 – 237. สุดารา สุจฉายา , บก. กทม. สารคดี. 2540
  • ปาริชาติ เรืองวิเศษ. บก., แม่ฮ่องสอน. กทม. สารคดีม. 2536
  • ยูร กมลเสรีรัตน์. ขนมอีสานเมื่อวันวาร. วัฒนธรรมไทย. 36 (4) : 42 – 43 มกราคม 2542
  • ปาริชาติ เรืองวิเศษ. อาหารพื้นเมืองเลย. ใน เลย หน้า 173. สุดารา สุจฉายาม บก. กทม. สารคดี. 2539
  • สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้. กทม. สถาบันทักษิณคดีศึกษา. 2523
  • วันดี ณ สงขลา. อาหารไทยในวรรณคดี เล่ม 2. กทม. ผลิตภัณฑ์การพิมพ์. 2527